ความไม่สอดคล้องทางการศึกษาและอาชีพของตลาดแรงงานภาครัฐใน ประเทศไทย: กรณีศึกษาตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ / กันยปริณ ทองสามสี

By: กันยปริณ ทองสามสีContributor(s): อิสระ ทองสามสีCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ตลาดแรงงานGenre/Form: การศึกษา Online resources: บทความฉบับเต็มภาษาไทย In: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2565) หน้า 147-166Summary: ความไม่สอดคล้องกันของระดับการศึกษาและอาชีพในตลาดแรงงาน (Labor market and educational mismatch) เป็นสถานการณ์ที่พบมากขึ้นในประเทศกําลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้ใช้นโยบายทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายด้านค่าจ้างแรงงาน เช่น นโยบายจบปริญญาตรีเงินเดือน 15,000บาท ก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้มีความต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลจากนโยบายที่ไม่ได้คํานึงและพิจารณาถึงความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานอย่างถี่ถ้วน อาจก่อให้เกิดสถานการณ์ความไม่สอดคล้องกันในตลาดแรงงานในประเทศไทย ทั้งในประเด็นแรงงานบางส่วนมีการทํางานต่ํากว่าระดับการศึกษา และประเด็นการทํางานในสาขาที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมาเนื่องจากไม่มีตลาดแรงงานที่รองรับ นอกจากนี้ มีผลการสํารวจพบว่าบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทํางานไม่ตรงสาขาที่สําเร็จการศึกษา และทํางานต่ํากว่าระดับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุต่ํากว่า 37-38 ปีลงมา ทํางานไม่ตรงสาขาที่สําเร็จการศึกษาประมาณร้อยละ60และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ความไม่สอดคล้องกันของระดับการศึกษาและอาชีพในตลาดแรงงาน (Labor market and educational mismatch) เป็นสถานการณ์ที่พบมากขึ้นในประเทศกําลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้ใช้นโยบายทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายด้านค่าจ้างแรงงาน เช่น นโยบายจบปริญญาตรีเงินเดือน 15,000บาท ก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้มีความต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลจากนโยบายที่ไม่ได้คํานึงและพิจารณาถึงความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานอย่างถี่ถ้วน อาจก่อให้เกิดสถานการณ์ความไม่สอดคล้องกันในตลาดแรงงานในประเทศไทย ทั้งในประเด็นแรงงานบางส่วนมีการทํางานต่ํากว่าระดับการศึกษา และประเด็นการทํางานในสาขาที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมาเนื่องจากไม่มีตลาดแรงงานที่รองรับ นอกจากนี้ มีผลการสํารวจพบว่าบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทํางานไม่ตรงสาขาที่สําเร็จการศึกษา และทํางานต่ํากว่าระดับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุต่ํากว่า 37-38 ปีลงมา ทํางานไม่ตรงสาขาที่สําเร็จการศึกษาประมาณร้อยละ60และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น