ความรู้เกี่ยวกับการประเมินและการจัดการกับความปวดของพยาบาลไทย / ศรีสุดา งามขำ

By: ศรีสุดา งามขำContributor(s): นิสา ครุฑจันทร์ | จุฑารัตน์ สว่างชัย | บุญเตือน วัฒนกุล | ศศิธร ชิดนายี | รุ่งนภา เขียวชะอ่ำCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ความปวด -- พยาบาลไทยGenre/Form: การประเมิน Online resources: บทความฉบับเต็มภาษาไทย In: การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2561) หน้า 81-89Summary: ความปวดเกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมาน ไม่สามารถปฏิบัติชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ และมีคุณภาพชีวิตลดลง การประเมินความปวดถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 ได้แก่ อัตราชีพจร อัตราการหายใจ ความดันโลหิต อุณหภูมิ และระดับความรุนแรงของความปวด1ซึ่งกำหนดโดยสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย ดังนั้นพยาบาลจะต้องประเมินความปวดในผู้ป่วยทุกราย2พยาบาลวิชาชีพจึงเป็นบุคลากรที่สำคัญ ในการประเมินและจัดการกับความปวดให้กับผู้ป่วยทุกราย ถึงแม้ว่าในหน่วยงานการพยาบาลจะมีแนวทางการปฏิบัติในการจัดการกับความปวด แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลพบว่าการประเมินและการจัดการความปวดแก่ผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในต่างประเทศ ยังไม่สามารถจัดการความปวดให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ อาจเนื่องมาจากพยาบาลวิชาชีพขาดความรู้ความเข้าใจในความปวด ทำให้พบว่าการปฏิบัติในคลินิกที่มีประสิทธิภาพได้น้อยมาก 2 และมีการประเมินความปวดของผู้ป่วยต่ำกว่าระดับที่ผู้ป่วยประเมิน 3 ทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานอยู่กับความปวด สำหรับการประเมินและการจัดการความปวดของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย ยังคงเป็นปัญหาเช่นเดียวกัน4
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ความปวดเกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมาน ไม่สามารถปฏิบัติชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ และมีคุณภาพชีวิตลดลง การประเมินความปวดถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 ได้แก่ อัตราชีพจร อัตราการหายใจ ความดันโลหิต อุณหภูมิ และระดับความรุนแรงของความปวด1ซึ่งกำหนดโดยสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย ดังนั้นพยาบาลจะต้องประเมินความปวดในผู้ป่วยทุกราย2พยาบาลวิชาชีพจึงเป็นบุคลากรที่สำคัญ ในการประเมินและจัดการกับความปวดให้กับผู้ป่วยทุกราย ถึงแม้ว่าในหน่วยงานการพยาบาลจะมีแนวทางการปฏิบัติในการจัดการกับความปวด แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลพบว่าการประเมินและการจัดการความปวดแก่ผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในต่างประเทศ ยังไม่สามารถจัดการความปวดให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ อาจเนื่องมาจากพยาบาลวิชาชีพขาดความรู้ความเข้าใจในความปวด ทำให้พบว่าการปฏิบัติในคลินิกที่มีประสิทธิภาพได้น้อยมาก 2 และมีการประเมินความปวดของผู้ป่วยต่ำกว่าระดับที่ผู้ป่วยประเมิน 3 ทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานอยู่กับความปวด สำหรับการประเมินและการจัดการความปวดของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย ยังคงเป็นปัญหาเช่นเดียวกัน4