โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุพบในเจดีย์วัดศรีสุพรรณ เชียงใหม่ ฉัตรลดา สินธุสอน

By: ฉัตรลดา สินธุสอนCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): โบราณสถาน | วัดศรีสุพรรณ In: ศิลปากร ปีที่ 66 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2566) หน้า 26-37Summary: วัดศรีสุพรรณสร้างเมื่อ พ.ศ. 2043 ในสมัยของพญาแก้ว ราชวงศ์มังราย พระนางสิริยสวดี พระราชมารดามหาเทวีเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์ชื่อเจ้าหมื่นหลวงจ่าคำ สร้างวัดชื่อว่า วัดศรีสุพรรณอาราม ต่อมาเรียกสั้น ๆ ว่าวัดศรีสุพรรณและทำการผูกพัทธสีมาอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2052 และสร้างวิหาร พระบรมธาตุเจดีย์ อุโบสถ และนำพระพุทธปาฏิหาริย์ มาประดิษฐานในอุโบสถ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2400 อุโบสถเงินของวัดถือว่าเป็นแห่งเดียวในโลก วัสดุที่ใช้คืออะลูมิเนียม เป็นเงินผสมและใช้เงินบริสุทธิ์บางแห่ง บุและตกแต่งตั้งแต่หลังคา ผนังภายในและภายนอกทั้งหลัง ช่างที่ดำเนินการสร้างอุโบสถเงิน เฉพาะการใช้ อะลูมิเนียม เงินผสมและเงินบริสุทธิ์ สำหรับตกแต่ง อุโบสถเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2547 สืบเนื่องจากอุโบสถหลังเดิมชำรุดและคณะศรัทธาวัดศรีสุพรรณ ซึ่งได้สืบทอดอาชีพการทำเครื่องเงิน และเพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมจากบรรพบุรุษของตนมามากกว่า 200 ปี อุโบสถเงินมีการสลักลวดลายตามแนวประเพณีล้านนา วัดมีกฎห้ามสตรีเข้าไปภายในอุโบสถเงินโดยเด็ดขาด
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

วัดศรีสุพรรณสร้างเมื่อ พ.ศ. 2043 ในสมัยของพญาแก้ว ราชวงศ์มังราย พระนางสิริยสวดี พระราชมารดามหาเทวีเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์ชื่อเจ้าหมื่นหลวงจ่าคำ สร้างวัดชื่อว่า วัดศรีสุพรรณอาราม ต่อมาเรียกสั้น ๆ ว่าวัดศรีสุพรรณและทำการผูกพัทธสีมาอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2052 และสร้างวิหาร พระบรมธาตุเจดีย์ อุโบสถ และนำพระพุทธปาฏิหาริย์ มาประดิษฐานในอุโบสถ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2400 อุโบสถเงินของวัดถือว่าเป็นแห่งเดียวในโลก วัสดุที่ใช้คืออะลูมิเนียม เป็นเงินผสมและใช้เงินบริสุทธิ์บางแห่ง บุและตกแต่งตั้งแต่หลังคา ผนังภายในและภายนอกทั้งหลัง ช่างที่ดำเนินการสร้างอุโบสถเงิน เฉพาะการใช้ อะลูมิเนียม เงินผสมและเงินบริสุทธิ์ สำหรับตกแต่ง อุโบสถเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2547 สืบเนื่องจากอุโบสถหลังเดิมชำรุดและคณะศรัทธาวัดศรีสุพรรณ ซึ่งได้สืบทอดอาชีพการทำเครื่องเงิน และเพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมจากบรรพบุรุษของตนมามากกว่า 200 ปี อุโบสถเงินมีการสลักลวดลายตามแนวประเพณีล้านนา วัดมีกฎห้ามสตรีเข้าไปภายในอุโบสถเงินโดยเด็ดขาด