ความเข้มข้นของสารหนูและโลหะหนักในตะกอนและสัตว์น้ำจากทะเลสาบสงขลาตอนนอก / สมศักดิ์ มณีพงศ์, เสาวภา อังสุภานิช

By: สมศักดิ์ มณีพงศ์Contributor(s): เสาวภา อังสุภานิชCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): สารหนู | อาหารทะเล | SCI-TECH In: สงขลานครินทร์ วทท ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2542) หน้า 111 - 121Summary: ทะเลสาบสงขลาตอนนอกมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกปนเปื้อนจากสารหนูและโลหะหนัก เนื่องจากทะเลสาบเป็นแหล่งรองรับของเสียทั้งจากอาคารบ้านเรือน อุตสาหกรรมและการทำเหมืองแร่ คลองพะวงและคลองอู่ตะเภา เป็นคลองสายหลักที่นำของเสียลงสู่ทะเลสาบ ดังนั้นการติดตามปนเปื้อนของสารมลพิษจึงมีความจำเป็นต้องกระทำเป็นระยะๆ งานวิจัยนี้ได้เก็บตัวอย่างตะกอนผิวดิน7ตัวอย่าง จากทะเลสาบสงขลาตอนนอก6ตัวอย่าง จากคลองพะวง และ8ตัวอย่าง จากคลองอู่ตะเภา นำมาวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารหนูทั้งหมด เหล็กในรูปออกไซด์อิสระ และสารหนู เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี นิเกิล ตะกั่ว โครเมียม และแคดเมียม ที่ละลายได้ในกรดเกลือ ความเข้มข้น 1 โมลาร์ ตัวอย่างร่วมของปลา กุ้ง และหอยที่เก็บจากแหล่งน้ำดังกล่าวถูกนำมาย่อยด้วยกรดผสมระหว่างกรดดินประสิวกับกรดเปอร์คลอริค แล้วนำไปวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุต่างๆ เช่นเดียวกับกรณีของตะกอน ผลการวิเคราะห์พบว่า ความเข้มข้นของธาตุต่างๆ ที่ศึกษาต่ำกว่าระดับที่เป็นพิษและไม่พบการสะสมอย่างมีนัยสำคัญของสารหนูและโลหะหนักอันเนื่องมาจากของเสียจากชุมชนเมืองที่ทิ้งลงสู่ทะเลสาบ ความเข้มข้นของสารหนูในปลา กุ้ง และหอย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความเข้มข้นของโลหะหนักในกุ้งและหอยสูงกว่าในปลา ความเข้มข้นของสารหนูและโลหะหนักที่พบในสัตว์น้ำซึ่งจับได้ในพื้นที่ที่ศึกษาอยู่ในระดับปกติ ดังนั้นการบริโภคสัตว์น้ำที่จับได้ในพื้นที่ดังกล่าวจึงถือว่าปลอดภัย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ทะเลสาบสงขลาตอนนอกมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกปนเปื้อนจากสารหนูและโลหะหนัก เนื่องจากทะเลสาบเป็นแหล่งรองรับของเสียทั้งจากอาคารบ้านเรือน อุตสาหกรรมและการทำเหมืองแร่ คลองพะวงและคลองอู่ตะเภา เป็นคลองสายหลักที่นำของเสียลงสู่ทะเลสาบ ดังนั้นการติดตามปนเปื้อนของสารมลพิษจึงมีความจำเป็นต้องกระทำเป็นระยะๆ งานวิจัยนี้ได้เก็บตัวอย่างตะกอนผิวดิน7ตัวอย่าง จากทะเลสาบสงขลาตอนนอก6ตัวอย่าง จากคลองพะวง และ8ตัวอย่าง จากคลองอู่ตะเภา นำมาวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารหนูทั้งหมด เหล็กในรูปออกไซด์อิสระ และสารหนู เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี นิเกิล ตะกั่ว โครเมียม และแคดเมียม ที่ละลายได้ในกรดเกลือ ความเข้มข้น 1 โมลาร์ ตัวอย่างร่วมของปลา กุ้ง และหอยที่เก็บจากแหล่งน้ำดังกล่าวถูกนำมาย่อยด้วยกรดผสมระหว่างกรดดินประสิวกับกรดเปอร์คลอริค แล้วนำไปวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุต่างๆ เช่นเดียวกับกรณีของตะกอน ผลการวิเคราะห์พบว่า ความเข้มข้นของธาตุต่างๆ ที่ศึกษาต่ำกว่าระดับที่เป็นพิษและไม่พบการสะสมอย่างมีนัยสำคัญของสารหนูและโลหะหนักอันเนื่องมาจากของเสียจากชุมชนเมืองที่ทิ้งลงสู่ทะเลสาบ ความเข้มข้นของสารหนูในปลา กุ้ง และหอย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความเข้มข้นของโลหะหนักในกุ้งและหอยสูงกว่าในปลา ความเข้มข้นของสารหนูและโลหะหนักที่พบในสัตว์น้ำซึ่งจับได้ในพื้นที่ที่ศึกษาอยู่ในระดับปกติ ดังนั้นการบริโภคสัตว์น้ำที่จับได้ในพื้นที่ดังกล่าวจึงถือว่าปลอดภัย