การพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กชนิดแยกน้ำมันเปลือกโดยใช้กระบวนการทอดผลปาล์มภายใต้สภาพสุญญากาศ / สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล, ชูเกียรติ คุปตานนท์, ชิต ลิ่มวรพันธ์

By: สัณห์ชัย กลิ่นพิกุลContributor(s): ชูเกียรติ คุปตานนท์ | ชิต ลิ่มวรพันธ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | น้ำมันปาล์ม | อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2543) หน้า 515-522Summary: โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มชนิดแยกน้ำมันปาล์มจากเปลือก (Crude Palm Oil, CPO) ออกจากน้ำมันเมล็ดใน (Crude Palm Kernel Oil, CPKO) ในการสกัดน้ำมันครั้งแรก โดยใช้กระบวนการทอดผลปาล์มภายใต้สภาพสุญญากาศ และใช้เครื่องหีบ 2 เพลา ทำให้กระบวนการสกัดน้ำมันแบบนี้มีข้อดีหลายประการ คือ 1.ไม่มีน้ำเสีย 2.สามารถสกัดน้ำมันปาล์มดิบที่ได้มาตรฐานในการสกัดน้ำมันครั้งแรก โดยไม่มีน้ำมันเมล็ดในปน 3.กระบวนการทอดในภาชนะสุญญากาศจะไม่มีความดัน จึงปลอดภัย ไม่มีเขม่าควัน จึงทำให้มีผลดีต่อสภาพการทำงาน 4.การทอดทำให้ผลปาล์มกรอบและนิ่มและสุกเท่ากันทั้งหม้อทอด จึงทำให้การสกัดน้ำมันโดยเครื่องหีบทำได้ง่าย ไม่ต้องปรับเครื่องหีบบ่อย (มีต่อ)Summary: และการสึกหรอของเกลียวอัดจะน้อยกว่าโรงงานที่ใช้วิธีย่างผลปาล์ม เมื่อทำการสกัดน้ำมันจากเปลือกเสร็จแล้ว กากปาล์มจะถูกนำไปตีกระจายให้เส้นใยและเมล็ดปาล์มแห้ง และผ่านเข้าเครื่องตีป่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ (meal) จากนั้นก็นำไปเข้ารางอบแห้งอีกครั้งหนึ่ง แล้วนำไปป้อนเข้าเครื่องหีบเพลาเดียว ซึ่งจะสกัดน้ำมันเมล็ดในปาล์มและน้ำมันปาล์มที่เหลือติดค้างอยู่ในเส้นใย ซึ่งจะได้เป็นน้ำมันที่เหมาะสมสำหรับเป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตสบู่ขนาดเล็ก ส่วนกากปาล์มสามารถจำหน่ายยังโรงงานผลิตมันเม็ดหรือขายเป็นอาหารสัตว์ หรือจะใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนไม้ฟืนได้ (มีต่อ)Summary: การพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันปาล์มแบบใหม่นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 2 ล้านบาท จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2539-2540 และได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาสำเร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 และได้สร้างโรงงานต้นแบบขนาดกำลังผลิต 1 ตัน ทะลาย/ชั่วโมง ขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2540 จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักต้นแบบพบว่าได้น้ำมันเปลือก (CPO) เป็นปริมาณ 17-19% ของน้ำหนักทะลายปาล์มสดและประสิทธิภาพการหีบน้ำมันรอบที่ 2 ได้น้ำมัน CPO ที่เหลือในเส้นใยและน้ำมันเมล็ดในผสมกันเป็นปริมาณ 3.5% ของน้ำหนักทะลายปาล์มสดตามลำดับ สำหรับต้นทุนการแปรรูปน้ำมันปาล์ม 0.65 บาท/กก. ผลปาล์มสด ซึ่งจะสูงกว่าโรงงานสกัดน้ำมันขนาดใหญ่ ดังนั้นในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแบบนี้ ควรมีกำลังผลิต 2-5 ตัน/ชั่วโมง โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 12-20 ล้านบาท
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มชนิดแยกน้ำมันปาล์มจากเปลือก (Crude Palm Oil, CPO) ออกจากน้ำมันเมล็ดใน (Crude Palm Kernel Oil, CPKO) ในการสกัดน้ำมันครั้งแรก โดยใช้กระบวนการทอดผลปาล์มภายใต้สภาพสุญญากาศ และใช้เครื่องหีบ 2 เพลา ทำให้กระบวนการสกัดน้ำมันแบบนี้มีข้อดีหลายประการ คือ 1.ไม่มีน้ำเสีย 2.สามารถสกัดน้ำมันปาล์มดิบที่ได้มาตรฐานในการสกัดน้ำมันครั้งแรก โดยไม่มีน้ำมันเมล็ดในปน 3.กระบวนการทอดในภาชนะสุญญากาศจะไม่มีความดัน จึงปลอดภัย ไม่มีเขม่าควัน จึงทำให้มีผลดีต่อสภาพการทำงาน 4.การทอดทำให้ผลปาล์มกรอบและนิ่มและสุกเท่ากันทั้งหม้อทอด จึงทำให้การสกัดน้ำมันโดยเครื่องหีบทำได้ง่าย ไม่ต้องปรับเครื่องหีบบ่อย (มีต่อ)

และการสึกหรอของเกลียวอัดจะน้อยกว่าโรงงานที่ใช้วิธีย่างผลปาล์ม เมื่อทำการสกัดน้ำมันจากเปลือกเสร็จแล้ว กากปาล์มจะถูกนำไปตีกระจายให้เส้นใยและเมล็ดปาล์มแห้ง และผ่านเข้าเครื่องตีป่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ (meal) จากนั้นก็นำไปเข้ารางอบแห้งอีกครั้งหนึ่ง แล้วนำไปป้อนเข้าเครื่องหีบเพลาเดียว ซึ่งจะสกัดน้ำมันเมล็ดในปาล์มและน้ำมันปาล์มที่เหลือติดค้างอยู่ในเส้นใย ซึ่งจะได้เป็นน้ำมันที่เหมาะสมสำหรับเป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตสบู่ขนาดเล็ก ส่วนกากปาล์มสามารถจำหน่ายยังโรงงานผลิตมันเม็ดหรือขายเป็นอาหารสัตว์ หรือจะใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนไม้ฟืนได้ (มีต่อ)

การพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันปาล์มแบบใหม่นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 2 ล้านบาท จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2539-2540 และได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาสำเร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 และได้สร้างโรงงานต้นแบบขนาดกำลังผลิต 1 ตัน ทะลาย/ชั่วโมง ขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2540 จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักต้นแบบพบว่าได้น้ำมันเปลือก (CPO) เป็นปริมาณ 17-19% ของน้ำหนักทะลายปาล์มสดและประสิทธิภาพการหีบน้ำมันรอบที่ 2 ได้น้ำมัน CPO ที่เหลือในเส้นใยและน้ำมันเมล็ดในผสมกันเป็นปริมาณ 3.5% ของน้ำหนักทะลายปาล์มสดตามลำดับ สำหรับต้นทุนการแปรรูปน้ำมันปาล์ม 0.65 บาท/กก. ผลปาล์มสด ซึ่งจะสูงกว่าโรงงานสกัดน้ำมันขนาดใหญ่ ดังนั้นในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแบบนี้ ควรมีกำลังผลิต 2-5 ตัน/ชั่วโมง โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 12-20 ล้านบาท