พะยูน

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พะยูน In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 116 (พฤษภาคม 2542) หน้า 30Summary: พะยูนเป็นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ลำตัวเพรียว รูปกระสวย หางแยกเป็นสองแฉกขนานกับพื้นในแนวราบ ไม่มีครีบหลัง มีปากอยู่ตอนล่างของส่วนหน้า ริมฝีปากเป็นก้อนเนื้อหนา ลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมู เมื่ออายุยังน้อยลำตัวจะเป็นสีขาว พอโตเต็มวัยจะเป็นสีเทาอมน้ำตาล และมีน้ำหนักตัวประมาณ 300 กิโลกรัม (ขณะอายุประมาณ 13-14 ปี) พะยูนชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ จะกินหญ้าทะเลตามชายฝั่งบริเวณที่อยู่อาศัย ทั้งกลางวันและกลางคืน (มีต่อ)Summary: หลังผสมพันธุ์พะยูนจะใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณหนึ่งปี โดยจะออกลูกครั้งละ 1 ตัว เท่านั้น เขตแพร่กระจายของพะยูนจะมีตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย เรื่อยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวันและตอนเหนือของออสเตรเลีย ปัจจุบันพะยูนลดจำนวนลงมาก เนื่องจากติดอวนและแหล่งอาหาร คือหญ้าทะเลถูกทำลาย นอกจากนี้ ยังถูกไล่ล่าเพื่อเป็นอาหาร และเอาน้ำมันใช้เป็นเชื้อเพลิง ด้วยการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า จึงทำให้พะยูนถูกล่าง่ายขึ้น ทุกวันนี้การไล่ล่ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง พะยูนที่เหลือเพียง 40-50 ตัวบริเวณเกาะลิบง และหาดเจ้าไหม จ.ตรัง จะอยู่ได้นานแค่ไหน จึงไม่มีใครตอบได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

พะยูนเป็นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ลำตัวเพรียว รูปกระสวย หางแยกเป็นสองแฉกขนานกับพื้นในแนวราบ ไม่มีครีบหลัง มีปากอยู่ตอนล่างของส่วนหน้า ริมฝีปากเป็นก้อนเนื้อหนา ลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมู เมื่ออายุยังน้อยลำตัวจะเป็นสีขาว พอโตเต็มวัยจะเป็นสีเทาอมน้ำตาล และมีน้ำหนักตัวประมาณ 300 กิโลกรัม (ขณะอายุประมาณ 13-14 ปี) พะยูนชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ จะกินหญ้าทะเลตามชายฝั่งบริเวณที่อยู่อาศัย ทั้งกลางวันและกลางคืน (มีต่อ)

หลังผสมพันธุ์พะยูนจะใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณหนึ่งปี โดยจะออกลูกครั้งละ 1 ตัว เท่านั้น เขตแพร่กระจายของพะยูนจะมีตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย เรื่อยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวันและตอนเหนือของออสเตรเลีย ปัจจุบันพะยูนลดจำนวนลงมาก เนื่องจากติดอวนและแหล่งอาหาร คือหญ้าทะเลถูกทำลาย นอกจากนี้ ยังถูกไล่ล่าเพื่อเป็นอาหาร และเอาน้ำมันใช้เป็นเชื้อเพลิง ด้วยการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า จึงทำให้พะยูนถูกล่าง่ายขึ้น ทุกวันนี้การไล่ล่ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง พะยูนที่เหลือเพียง 40-50 ตัวบริเวณเกาะลิบง และหาดเจ้าไหม จ.ตรัง จะอยู่ได้นานแค่ไหน จึงไม่มีใครตอบได้