ความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศกับความชราภาพในผู้ชายไทย / ฉัตรพร อุษณาจิตต์ ... (และคนอื่นๆ)

Contributor(s): ฉัตรพร อุษณาจิตต์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ฮอร์โมน -- บุรุษ In: วิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กันยายน 2542) หน้า 78-93Summary: ปัจจุบันนี้ยังไม่พบว่ามีการศึกษาถึงระดับฮอร์โมนเพศในผู้ชายไทยสูงวัยอย่างจริงจัง งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ในผู้ชายไทย 66คน ที่มีบุตรแล้ว แบ่งเป็น 2กลุ่มคือ กลุ่มชายวัยฉกรรจ์ที่มีอายุระหว่าง 25-35ปี จำนวน 30คน และกลุ่มชายสูงวัยที่มีอายุระหว่าง 50-60ปี จำนวน 36คน โดยทำการวัดระดับฮอร์โมนเตสโตสเตอโรนรวม (Total Testosterone ; T) เตสโตสเตอโรนอิสระ (Free Testorone ; FT) ลูติไนซิงฮอร์โมน (Luteinizing Hormone ; LH) (มีต่อ)Summary: ฟอสลิเคิลสติมูเลตติงฮอร์โมน (Follicle Stimulating Hormone ; FSH) รวมทั้งกลอบูลินทีจับกับฮอร์โมนเพศ (Sex Hormone Binding Globulin ; SHBG) ในซีรัมของชายทั้งสองกลุ่ม เพื่อศึกษาความแตกต่างของฮอร์โมนเหล่านี้ นอกจากนี้ยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศดังกล่าว กับอาการทางร่างกายที่เรียกว่า Partial Androgen Deficiency in Aging Men (PADAM) ด้วย จากการวิจัยพบว่าระดับฮอร์โมน T และ FT ในชายไทยสูงวัยมีค่าต่ำกว่าชายไทยวัยฉกรรจ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.02 และ P<0.001 ตามลำดับ (มีต่อ)Summary: ระดับ FSH และSHBG ในชายไทยสูงวัยมีค่าสูงกว่าในชายไทยวัยฉกรรจ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.001 และ P<0.01 ตามลำดับ ส่วน LH ในชายไทยสูงวัยไม่พบความแตกต่างจากชายไทยวัยฉกรรจ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับฮอร์โมนเพศทั้ง 4ชนิด คือ T FT LH และ FSH รวมทั้งSHBG ในชายไทยมีค่าต่ำกว่าของชายชาวตะวันตก ทั้งในกลุ่มชายสูงวัยและกลุ่มชายวัยฉกรรจ์ นอกจากนี้ยังพบว่าชายไทยสูงวัยจะมีความต้องการทางเพศ (Sexual desire) ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด (มีต่อ)Summary: เมื่อเทียบกับความต้องการทางเพศของเขาเองในขณะที่ยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างระดับ T และ FT กับกลุ่มอาการ PADAM นั้นไม่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่จากการสัมภาษณ์อาสาสมัครที่มีอาการของ PADAM พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางครอบครัว การงาน การเงิน และสุขภาพของทั้งตนเองและคู่ชีวิต
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปัจจุบันนี้ยังไม่พบว่ามีการศึกษาถึงระดับฮอร์โมนเพศในผู้ชายไทยสูงวัยอย่างจริงจัง งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ในผู้ชายไทย 66คน ที่มีบุตรแล้ว แบ่งเป็น 2กลุ่มคือ กลุ่มชายวัยฉกรรจ์ที่มีอายุระหว่าง 25-35ปี จำนวน 30คน และกลุ่มชายสูงวัยที่มีอายุระหว่าง 50-60ปี จำนวน 36คน โดยทำการวัดระดับฮอร์โมนเตสโตสเตอโรนรวม (Total Testosterone ; T) เตสโตสเตอโรนอิสระ (Free Testorone ; FT) ลูติไนซิงฮอร์โมน (Luteinizing Hormone ; LH) (มีต่อ)

ฟอสลิเคิลสติมูเลตติงฮอร์โมน (Follicle Stimulating Hormone ; FSH) รวมทั้งกลอบูลินทีจับกับฮอร์โมนเพศ (Sex Hormone Binding Globulin ; SHBG) ในซีรัมของชายทั้งสองกลุ่ม เพื่อศึกษาความแตกต่างของฮอร์โมนเหล่านี้ นอกจากนี้ยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศดังกล่าว กับอาการทางร่างกายที่เรียกว่า Partial Androgen Deficiency in Aging Men (PADAM) ด้วย จากการวิจัยพบว่าระดับฮอร์โมน T และ FT ในชายไทยสูงวัยมีค่าต่ำกว่าชายไทยวัยฉกรรจ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.02 และ P<0.001 ตามลำดับ (มีต่อ)

ระดับ FSH และSHBG ในชายไทยสูงวัยมีค่าสูงกว่าในชายไทยวัยฉกรรจ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.001 และ P<0.01 ตามลำดับ ส่วน LH ในชายไทยสูงวัยไม่พบความแตกต่างจากชายไทยวัยฉกรรจ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับฮอร์โมนเพศทั้ง 4ชนิด คือ T FT LH และ FSH รวมทั้งSHBG ในชายไทยมีค่าต่ำกว่าของชายชาวตะวันตก ทั้งในกลุ่มชายสูงวัยและกลุ่มชายวัยฉกรรจ์ นอกจากนี้ยังพบว่าชายไทยสูงวัยจะมีความต้องการทางเพศ (Sexual desire) ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด (มีต่อ)

เมื่อเทียบกับความต้องการทางเพศของเขาเองในขณะที่ยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างระดับ T และ FT กับกลุ่มอาการ PADAM นั้นไม่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่จากการสัมภาษณ์อาสาสมัครที่มีอาการของ PADAM พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางครอบครัว การงาน การเงิน และสุขภาพของทั้งตนเองและคู่ชีวิต