ผึ้งในบทบาทของการเป็นแมลงช่วยผสมเกสร / สุวคนธ์ โคตรมี

By: สุวคนธ์ โคตรมีCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ผึ้ง | การผสมพันธุ์พืชโดยแมลง In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2543) หน้า 63-64Summary: ขบวนการสืบพันธุ์ของพืชแบบอาศัยเพศที่ผสมข้าม (cross pollination) ทุกชนิด ต้องผ่านขั้นตอนการผสมเกสร โดยการถ่ายละอองเกสรจากเกสรตัวผู้ไปยังเกสรตัวเมีย ด้วยการอาศัยพาหะทั้งชนิดที่ไม่มีชีวิต เช่น ลม และพาหะที่มีชีวิต คือมนุษย์และสัตว์ ได้แก่ นก ค้างคาว สัตว์ปากดูดอื่นๆ และแมลงจำพวกด้วง แมลงวัน ผีเสื้อ และผึ้ง จากทั้งหมดนี้แมลงจำพวกผึ้งเป็นแมลงช่วยผสมเกสรที่มีศักยภาพสูงที่สุด ผึ้งไม่ได้เป็นแมลงที่มีประโยชน์เฉพาะให้ผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำผึ้ง ไขผึ้ง เกสรผึ้ง และโปรโปลิส แก่มนุษย์เท่านั้น (มีต่อ)Summary: ผึ้งยังมีความสำคัญในการเป็นแมลงช่วยผสมเกสรทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น และบทบาทสำคัญที่สุดของผึ้งคือ การเป็นแมลงช่วยผสมเกสร โดยมนุษย์ได้นำผึ้งมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ เพื่อการเพิ่มผลผลิต การผลิตเมล็ดพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์พืช จนกระทั่งถึงในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ผึ้งยังเป็นตัวชี้สภาพความสมดุลธรรมชาติอีกด้วย ผึ้งพันธุ์ เป็นแมลงเศรษฐกิจสำคัญของประเทศอุตสาหกรรมเกษตรในเขตที่ทำการเกษตรจำพวกถั่ว ไม้ผล ผักและพืชน้ำมัน ผึ้งชนิดอื่นนอกจากผึ้งพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเป็นแมลงช่วยผสมเกสรที่มีศักยภาพนั้น สามารถพิจารณาได้จาก (มีต่อ)Summary: "คุณสมบัติสำคัญของแมลงช่วยผสมเกสรคือ 1.เป็นแมลงที่เก็บสะสมน้ำต้อย หรือเกสร ต่อหนึ่งเที่ยวของการออกหาอาหาร จากพืชเพียง 1ชนิด แมลงกลุ่มนี้แสดงคุณสมบัติเป็น "แมลงช่วยผสมเกสรที่ดีที่สุด" 2.เป็นแมลงที่เก็บสะสมน้ำต้อยหรือเกสรต่อหนึ่งเที่ยวของการออกหาอาหาร จากพืช 2-3ชนิด แมลงกลุ่มนี้แสดงคุณสมบัติเป็น "แมลงช่วยผสมเกสรที่ดี" 3.เป็นแมลงที่เก็บสะสมน้ำต้อย และ/หรือเกสรต่อหนึ่งเที่ยวของการออกหาอาหารจากพืชมากกว่า 3ชนิด (มีต่อ)Summary: แมลงกลุ่มนี้แสดงคุณสมบัติเป็น "แมลงช่วยผสมเกสรที่ไม่ดี" ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีผึ้งหลากหลายชนิดที่มีแนวโน้มว่าผึ้งทุกชนิดมีความสำคัญต่อการช่วยผสมเกสร การวิจัยและพัฒนาผึ้งด้านการเป็นแมลงช่วยผสมเกสรนับว่าเป็นงานวิจัยที่ควรดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ขบวนการสืบพันธุ์ของพืชแบบอาศัยเพศที่ผสมข้าม (cross pollination) ทุกชนิด ต้องผ่านขั้นตอนการผสมเกสร โดยการถ่ายละอองเกสรจากเกสรตัวผู้ไปยังเกสรตัวเมีย ด้วยการอาศัยพาหะทั้งชนิดที่ไม่มีชีวิต เช่น ลม และพาหะที่มีชีวิต คือมนุษย์และสัตว์ ได้แก่ นก ค้างคาว สัตว์ปากดูดอื่นๆ และแมลงจำพวกด้วง แมลงวัน ผีเสื้อ และผึ้ง จากทั้งหมดนี้แมลงจำพวกผึ้งเป็นแมลงช่วยผสมเกสรที่มีศักยภาพสูงที่สุด ผึ้งไม่ได้เป็นแมลงที่มีประโยชน์เฉพาะให้ผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำผึ้ง ไขผึ้ง เกสรผึ้ง และโปรโปลิส แก่มนุษย์เท่านั้น (มีต่อ)

ผึ้งยังมีความสำคัญในการเป็นแมลงช่วยผสมเกสรทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น และบทบาทสำคัญที่สุดของผึ้งคือ การเป็นแมลงช่วยผสมเกสร โดยมนุษย์ได้นำผึ้งมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ เพื่อการเพิ่มผลผลิต การผลิตเมล็ดพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์พืช จนกระทั่งถึงในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ผึ้งยังเป็นตัวชี้สภาพความสมดุลธรรมชาติอีกด้วย ผึ้งพันธุ์ เป็นแมลงเศรษฐกิจสำคัญของประเทศอุตสาหกรรมเกษตรในเขตที่ทำการเกษตรจำพวกถั่ว ไม้ผล ผักและพืชน้ำมัน ผึ้งชนิดอื่นนอกจากผึ้งพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเป็นแมลงช่วยผสมเกสรที่มีศักยภาพนั้น สามารถพิจารณาได้จาก (มีต่อ)

"คุณสมบัติสำคัญของแมลงช่วยผสมเกสรคือ 1.เป็นแมลงที่เก็บสะสมน้ำต้อย หรือเกสร ต่อหนึ่งเที่ยวของการออกหาอาหาร จากพืชเพียง 1ชนิด แมลงกลุ่มนี้แสดงคุณสมบัติเป็น "แมลงช่วยผสมเกสรที่ดีที่สุด" 2.เป็นแมลงที่เก็บสะสมน้ำต้อยหรือเกสรต่อหนึ่งเที่ยวของการออกหาอาหาร จากพืช 2-3ชนิด แมลงกลุ่มนี้แสดงคุณสมบัติเป็น "แมลงช่วยผสมเกสรที่ดี" 3.เป็นแมลงที่เก็บสะสมน้ำต้อย และ/หรือเกสรต่อหนึ่งเที่ยวของการออกหาอาหารจากพืชมากกว่า 3ชนิด (มีต่อ)

แมลงกลุ่มนี้แสดงคุณสมบัติเป็น "แมลงช่วยผสมเกสรที่ไม่ดี" ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีผึ้งหลากหลายชนิดที่มีแนวโน้มว่าผึ้งทุกชนิดมีความสำคัญต่อการช่วยผสมเกสร การวิจัยและพัฒนาผึ้งด้านการเป็นแมลงช่วยผสมเกสรนับว่าเป็นงานวิจัยที่ควรดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป