ผลกระทบของฝ้ายจำลองพันธุ์ Bt ต่อผึ้งพันธุ์ / ชุติกานต์ กิจประเสริฐ, วาทิน จันทร์สง่า, ทัศนีย์ คีรีทวีป

By: ชุติกานต์ กิจประเสริฐContributor(s): วาทิน จันทร์สง่า | ทัศนีย์ คีรีทวีปCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ผึ้ง -- วิจัย | ฝ้าย -- วิจัย In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 (ตุลาคม - ธันวาคม 2543) หน้า 312-323Summary: การศึกษาผลกระทบของฝ้ายจำลองพันธุ์ Bt ต่อผึ้งพันธุ์ ได้ทำการทดลองที่หน่วยวิจัยผึ้ง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2541 ทำการทดสอบโดยวิธี Cagetest โดยนำผึ้งพันธุ์ (ขนาด 3คอนต่อรัง) จำนวน 1รัง เข้าไปตั้งในกรงตาข่ายไนล่อนขนาด 4x4x4 เมตร ซึ่งปลูกต้นฝ้ายไว้จำนวน 50ต้นต่อกรง และอยู่ในระยะออกดอก ใช้กรงทดสอบจำนวน 3กรง ต่อฝ้าย 1พันธุ์ เปรียบเทียบระหว่างฝ้ายจำลองพันธุ์ Bt (Nucotn 33) และศรีสำโรง 60 (SR 60) (มีต่อ)Summary: ผลปรากฎว่าสภาพการเจริญเติบโตของผึ้งภายในรังจากกรงทดสอบฝ้ายทั้ง 2พันธุ์ ในระหว่างที่ทำการทดลอง 2สัปดาห์ และหลังจากนำออกจากกรงทดสอบแล้ว 5สัปดาห์ ให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของตัวอ่อนผึ้ง ในสัปดาห์แรกของการทดลองที่อยู่ในสภาพกรงทดสอบฝ้าย Nucoth 33 และ SR 60 คิดเป็น 288.14 และ129.81% ตามลำดับ และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของดักแด้ผึ้ง 253.04 และ 806.10% ตามลำดับ ส่วนในสัปดาห์ที่สอง จำนวนตัวอ่อนผึ้งภายในรังมีอัตราการลดลง 72.60 และ 64.56 % ตามลำดับ (มีต่อ)Summary: เนื่องจากดอกฝ้ายภายในกรงทดสอบเริ่มลดน้อยลง แต่ในช่วงนี้จำนวนดักแด้ผึ้งยังคงมีอัตราที่เพิ่มขึ้น 60.37 และ 52.93% ตามลำดับ หลังจากที่นำผึ้งออกจากกรงทดสอบแล้ว 5สัปดาห์ พบว่าจำนวนตัวอ่อนและดักแด้ผึ้งภายในรังมีอัตราเพิ่มขึ้น จากการสำรวจแมลงในธรรมชาติที่พบบนดอกฝ้ายในแปลงปลูกฝ้ายปรากฎว่าชนิดและจำนวนแมลงจากแปลงปลูกฝ้ายทั้ง 2พันธุ์ใกล้เคียงกัน แมลงที่พบมากที่สุดคือ ผึ้งพวก Solitary bees รองลงมาได้แก่ ด้วงหมัดผัก ชันโรง และผึ้งมิ้ม ส่วนผึ้งพันธุ์ไม่พบว่าลงตอมดอกฝ้าย เนื่องจากมีพืชชนิดอื่นที่ดึงดูดผึ้งได้ดีกว่าขึ้นปะปนในบริเวณนั้น เช่น กระดุมทองเลื้อย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาผลกระทบของฝ้ายจำลองพันธุ์ Bt ต่อผึ้งพันธุ์ ได้ทำการทดลองที่หน่วยวิจัยผึ้ง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2541 ทำการทดสอบโดยวิธี Cagetest โดยนำผึ้งพันธุ์ (ขนาด 3คอนต่อรัง) จำนวน 1รัง เข้าไปตั้งในกรงตาข่ายไนล่อนขนาด 4x4x4 เมตร ซึ่งปลูกต้นฝ้ายไว้จำนวน 50ต้นต่อกรง และอยู่ในระยะออกดอก ใช้กรงทดสอบจำนวน 3กรง ต่อฝ้าย 1พันธุ์ เปรียบเทียบระหว่างฝ้ายจำลองพันธุ์ Bt (Nucotn 33) และศรีสำโรง 60 (SR 60) (มีต่อ)

ผลปรากฎว่าสภาพการเจริญเติบโตของผึ้งภายในรังจากกรงทดสอบฝ้ายทั้ง 2พันธุ์ ในระหว่างที่ทำการทดลอง 2สัปดาห์ และหลังจากนำออกจากกรงทดสอบแล้ว 5สัปดาห์ ให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของตัวอ่อนผึ้ง ในสัปดาห์แรกของการทดลองที่อยู่ในสภาพกรงทดสอบฝ้าย Nucoth 33 และ SR 60 คิดเป็น 288.14 และ129.81% ตามลำดับ และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของดักแด้ผึ้ง 253.04 และ 806.10% ตามลำดับ ส่วนในสัปดาห์ที่สอง จำนวนตัวอ่อนผึ้งภายในรังมีอัตราการลดลง 72.60 และ 64.56 % ตามลำดับ (มีต่อ)

เนื่องจากดอกฝ้ายภายในกรงทดสอบเริ่มลดน้อยลง แต่ในช่วงนี้จำนวนดักแด้ผึ้งยังคงมีอัตราที่เพิ่มขึ้น 60.37 และ 52.93% ตามลำดับ หลังจากที่นำผึ้งออกจากกรงทดสอบแล้ว 5สัปดาห์ พบว่าจำนวนตัวอ่อนและดักแด้ผึ้งภายในรังมีอัตราเพิ่มขึ้น จากการสำรวจแมลงในธรรมชาติที่พบบนดอกฝ้ายในแปลงปลูกฝ้ายปรากฎว่าชนิดและจำนวนแมลงจากแปลงปลูกฝ้ายทั้ง 2พันธุ์ใกล้เคียงกัน แมลงที่พบมากที่สุดคือ ผึ้งพวก Solitary bees รองลงมาได้แก่ ด้วงหมัดผัก ชันโรง และผึ้งมิ้ม ส่วนผึ้งพันธุ์ไม่พบว่าลงตอมดอกฝ้าย เนื่องจากมีพืชชนิดอื่นที่ดึงดูดผึ้งได้ดีกว่าขึ้นปะปนในบริเวณนั้น เช่น กระดุมทองเลื้อย