อันตรายจากไฟฟ้า และการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง / ลือชัย ทองนิล

By: ลือชัย ทองนิลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ไฟฟ้า | ไฟฟ้าแรงสูง In: ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 27 ฉบับที่ 150 (เมษายน-พฤษภาคม 2543) หน้า 106 - 109Summary: ไฟฟ้ามีทั้งคุณและโทษ การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าจึงต้องใช้อย่างระมัดระวังต้องเรียนรู้วิธีการป้องกัน เลือกใช้เครื่องไฟฟ้าที่มีคุณภาพ และใช้อย่างถูกต้อง อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้ามิใช่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียว บุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบอาชีพอื่นก็อาจเกิดอันตรายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำงานก่อสร้าง การติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์และการใช้ยานพาหนะ เป็นต้น ไฟฟ้าก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน อันตรายจากไฟฟ้าเกิดได้ 2สาเหตุ (มีต่อ)Summary: คือ ไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจร กับไฟฟ้าดูด การปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงอาจมีอันตรายทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานเองและต่อระบบการจ่ายไฟฟ้า รวมทั้งประชาชนอาจเดือดร้อน เนื่องจากไฟฟ้าดับ สาเหตุส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ถ้าผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจ ประเภทงานที่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่พอรวบรวมได้คือ 1.การชักรอกหรือขนส่งสิ่งของต่างๆ ขึ้นที่สูง 2.ผ้าคลุมฝุ่นหรือแผงกั้นต่างๆ หลุดหรือปลิวไปถูกสายไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือสายไฟขาด (มีต่อ)Summary: 3.การใช้ปั้นจั่นในงานก่อสร้าง ทั้งชนิดที่ติดตั้งบนรถและชนิดติดตั้งบนพื้น 4.การใช้รถเครื่องมือกล 5.การทำงานบนนั่งร้าน 6.การติดตั้งป้ายโฆษณา 7.การติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ 8.การปรับปรุงอาคาร 9.การตัดต้นไม้ 10.การเขี่ย จับวัสดุที่ติดค้างอยู่บนสายไฟฟ้า เป็นต้น การปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรือส่วนอื่นๆ ที่มีไฟฟ้าต้องอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมตามที่กำหนดในมาตรฐาน (มีต่อ)Summary: ในการทำงานผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ควบคุมงานจึงควรศึกษารายละเอียดการทำงาน วิธีการป้องกัน การตรวจสอบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วอาจไม่มีโอกาสได้แก้ตัว กรณีที่ไม่สามารถรักษาระยะห่างให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ อาจมีความจำเป็นต้องดับไฟฟ้าหรือย้ายเสาไฟฟ้า ลักษณะนี้ต้องติดต่อการไฟฟ้าฯ เป็นแต่ละกรณีไปซึ่งการไฟฟ้าฯ จะพิจารณาดำเนินการให้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ไฟฟ้ามีทั้งคุณและโทษ การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าจึงต้องใช้อย่างระมัดระวังต้องเรียนรู้วิธีการป้องกัน เลือกใช้เครื่องไฟฟ้าที่มีคุณภาพ และใช้อย่างถูกต้อง อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้ามิใช่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียว บุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบอาชีพอื่นก็อาจเกิดอันตรายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำงานก่อสร้าง การติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์และการใช้ยานพาหนะ เป็นต้น ไฟฟ้าก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน อันตรายจากไฟฟ้าเกิดได้ 2สาเหตุ (มีต่อ)

คือ ไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจร กับไฟฟ้าดูด การปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงอาจมีอันตรายทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานเองและต่อระบบการจ่ายไฟฟ้า รวมทั้งประชาชนอาจเดือดร้อน เนื่องจากไฟฟ้าดับ สาเหตุส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ถ้าผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจ ประเภทงานที่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่พอรวบรวมได้คือ 1.การชักรอกหรือขนส่งสิ่งของต่างๆ ขึ้นที่สูง 2.ผ้าคลุมฝุ่นหรือแผงกั้นต่างๆ หลุดหรือปลิวไปถูกสายไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือสายไฟขาด (มีต่อ)

3.การใช้ปั้นจั่นในงานก่อสร้าง ทั้งชนิดที่ติดตั้งบนรถและชนิดติดตั้งบนพื้น 4.การใช้รถเครื่องมือกล 5.การทำงานบนนั่งร้าน 6.การติดตั้งป้ายโฆษณา 7.การติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ 8.การปรับปรุงอาคาร 9.การตัดต้นไม้ 10.การเขี่ย จับวัสดุที่ติดค้างอยู่บนสายไฟฟ้า เป็นต้น การปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรือส่วนอื่นๆ ที่มีไฟฟ้าต้องอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมตามที่กำหนดในมาตรฐาน (มีต่อ)

ในการทำงานผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ควบคุมงานจึงควรศึกษารายละเอียดการทำงาน วิธีการป้องกัน การตรวจสอบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วอาจไม่มีโอกาสได้แก้ตัว กรณีที่ไม่สามารถรักษาระยะห่างให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ อาจมีความจำเป็นต้องดับไฟฟ้าหรือย้ายเสาไฟฟ้า ลักษณะนี้ต้องติดต่อการไฟฟ้าฯ เป็นแต่ละกรณีไปซึ่งการไฟฟ้าฯ จะพิจารณาดำเนินการให้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม