ปัญญาจากขุนเขา เรื่องเล่าจากยอดดอย "ลีซอโลกาภิวัฒน์" ชูชาติ ฉือจะผะ / ธีรภาพ โลหิตกุล

By: ธีรภาพ โลหิตกุลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เกษตรกร In: เส้นทางสีเขียว ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2541) หน้า 20 - 25Summary: ดอยสามหมื่น คือป่าต้นน้ำชั้นหนึ่งของสยามประเทศ ซึ่งดำรงไปด้วยคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งมีชื่อเสียงไปในทางการท่องเที่ยว พื้นที่ส่วนหนึ่งของดอยสามหมื่นถูกจัดอันดับให้เป็นจุดชมทะเลหมอก ดอกไม้เมืองหนาวที่ดีที่สุดจุดหนึ่งของประเทส ชูชาติ หรือ ซูซาน ฉือจะผะ เป็นผู้นำชาวเขาเผ่าลีซอบ้านแพลม ในพื้นที่ห้วยน้ำรูแห่งดอยสามหมื่น เป็นผู้ที่บุกเบิกให้เลิกปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย มาปลูกพืชไว้กินและขาย และเมื่อกรมป่าไม้โดยการสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติริเริ่ม "โครงการพัฒนาที่สูงสามหมื่น" เพื่อพัฒนาพื้นที่กว่า 1ล้าน 1แสนไร่ของดอยสามหมื่น (มีต่อ)Summary: มีเป้าหมายเพื่อลดการปลูกและเสพย์ฝิ่น รวมถึงปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชากรชาวเขากว่า 1หมื่นคน ใน 60หมู่บ้าน ภายใต้เงื่อนไขว่า ชาวเขาเหล่านี้ต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ในชุมชนของตนให้สมดุล ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานไว้ตั้งแต่ครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรชาวเขาว่า การจะฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลายนั้น ควรต้องปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อนแล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ไว้ด้วยตัวของเขาเอง ชูชาติเป็นบุคคลหนึ่งที่หันมาปลูกมะนาว มะม่วง ขนุน ส้มโอ ไม้ไผ่ แอปเปิ้ล สาลี่ (มีต่อ)Summary: เป็นผู้ลงมือทำสวนเกษตรผสมผสานให้เห็นเป็นจริง แต่ก็ใช่ว่าเพื่อนบ้านทุกคนจะเห็นดีงามไปกับเขา ยังมีครอบครัวบางหมู่บ้านที่ยังถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยและใช้สารเคมี การรวมตัวของคณะกรรมการ 8หมู่บ้านชาวเขาในเขตห้วยน้ำรู จึงเกิดขึ้นเพื่อวางกฎระเบียบร่วมกันในการอยู่กับป่าอย่างไม่ทำลายป่า โดยมี "หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยน้ำรู" ของกรมป่าไม้คอยให้การสนับสนุนตามแนวพระราชดำริ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ ชูชาติเป็นบุคคลซึ่งคอยชี้แนะ ปลูกฝังให้คนชาวเขาหันมาปลูกพืช อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เพราะฉะนั้นจึงสมควรให้ฉายาแก่ชูชาติว่า "ลีซอโลกาภิวัฒน์"
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ดอยสามหมื่น คือป่าต้นน้ำชั้นหนึ่งของสยามประเทศ ซึ่งดำรงไปด้วยคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งมีชื่อเสียงไปในทางการท่องเที่ยว พื้นที่ส่วนหนึ่งของดอยสามหมื่นถูกจัดอันดับให้เป็นจุดชมทะเลหมอก ดอกไม้เมืองหนาวที่ดีที่สุดจุดหนึ่งของประเทส ชูชาติ หรือ ซูซาน ฉือจะผะ เป็นผู้นำชาวเขาเผ่าลีซอบ้านแพลม ในพื้นที่ห้วยน้ำรูแห่งดอยสามหมื่น เป็นผู้ที่บุกเบิกให้เลิกปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย มาปลูกพืชไว้กินและขาย และเมื่อกรมป่าไม้โดยการสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติริเริ่ม "โครงการพัฒนาที่สูงสามหมื่น" เพื่อพัฒนาพื้นที่กว่า 1ล้าน 1แสนไร่ของดอยสามหมื่น (มีต่อ)

มีเป้าหมายเพื่อลดการปลูกและเสพย์ฝิ่น รวมถึงปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชากรชาวเขากว่า 1หมื่นคน ใน 60หมู่บ้าน ภายใต้เงื่อนไขว่า ชาวเขาเหล่านี้ต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ในชุมชนของตนให้สมดุล ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานไว้ตั้งแต่ครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรชาวเขาว่า การจะฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลายนั้น ควรต้องปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อนแล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ไว้ด้วยตัวของเขาเอง ชูชาติเป็นบุคคลหนึ่งที่หันมาปลูกมะนาว มะม่วง ขนุน ส้มโอ ไม้ไผ่ แอปเปิ้ล สาลี่ (มีต่อ)

เป็นผู้ลงมือทำสวนเกษตรผสมผสานให้เห็นเป็นจริง แต่ก็ใช่ว่าเพื่อนบ้านทุกคนจะเห็นดีงามไปกับเขา ยังมีครอบครัวบางหมู่บ้านที่ยังถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยและใช้สารเคมี การรวมตัวของคณะกรรมการ 8หมู่บ้านชาวเขาในเขตห้วยน้ำรู จึงเกิดขึ้นเพื่อวางกฎระเบียบร่วมกันในการอยู่กับป่าอย่างไม่ทำลายป่า โดยมี "หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยน้ำรู" ของกรมป่าไม้คอยให้การสนับสนุนตามแนวพระราชดำริ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ ชูชาติเป็นบุคคลซึ่งคอยชี้แนะ ปลูกฝังให้คนชาวเขาหันมาปลูกพืช อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เพราะฉะนั้นจึงสมควรให้ฉายาแก่ชูชาติว่า "ลีซอโลกาภิวัฒน์"