โครงการแกล้งดิน / ชาติบุตร บุณยะจิตติ

By: ชาติบุตร บุณยะจิตติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 23 (ธันวาคม 2542) หน้า 46-48Summary: โครงการแกล้งดินเป็นโครงการตามพระราชดำริที่จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎร ในเขต จ.นราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี เริ่มจาก"แกล้งดินให้เปรี้ยว" ทำดินให้แห้งและเปียกสลับกันไป เป็นการเร่งปฏิกิริยาเคมีกระตุ้นให้สารประกอบกำมะถันทำปฏิกิริยาออกวิเจนในอากาศ ทำให้ดินเป็นกรดจัดถึงขั้นแกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด จนพืชเศรษฐกิจต่างๆ ไม่สามารถเจริญงอกงามให้ผลผลิตได้ จากนั้น (มีต่อ)Summary: จึงหาวิธีการปรับปรุงดินให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ กระทำได้หลายวิธี ประการแรกคือ ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน โดยควบคุมให้อยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบกำมะถันเพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ประการที่สอง การปรับปรุงดินสามารถทำได้ 3วิธี วิธีแรก ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดเพื่อให้ค่า pH เพิ่มขึ้นโดยปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลงแล้วระบายออกประมาณ 2-3ครั้ง วิธีที่สอง ใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน (มีต่อ)Summary: ให้ปูนมาร์ลหรือปูนฝุ่นในอัตรา 1-4 ตัน/ไร่ มากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรด วิธีที่สาม การใช้ปูนควบคู่กับการใช้น้ำล้าง โดยใช้ปูนกระตุ้นเพื่อให้น้ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อัตราการใช้ปูนโดยทั่วไป 1-2ตัน/ไร่ แล้วไถกลบจากนั้นใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดและควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนเพื่อมิให้สารประกอบกำมะถันทำปฏิกิริยากับออกซิเจนปลดปล่อยกรดออกมา ประการที่สาม เป็นการปรับสภาพพื้นที่ โดยทั่วไปมี 2วิธี (มีต่อ)Summary: วิธีแรกคือ ปรับระดับผิวหน้าดิน โดยปรับให้หน้าดินมีความลาดเอียงพอที่จะให้น้ำไหลออกไปสู่คลองระบายน้ำได้ทั้งยังต้องจัดตกแต่งแปลงนาหรือกระทงนาและคันนา เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้ตามต้องการ วิธีที่สอง การยกร่องปลูกพืชต้องทำการขุดท้องร่องเพื่อให้เหมาะสมกับพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดที่จะปลูกโดยที่ต้องทราบก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวมีดินเลนที่มีสารประกอบกำมะถันในระดับใด จากนั้นให้ขุดลึกเพียงแค่ระดับดินเลน โดยทั่วไปจะขุดในระดับความลึกไม่เกิน 100 ซม.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครงการแกล้งดินเป็นโครงการตามพระราชดำริที่จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎร ในเขต จ.นราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี เริ่มจาก"แกล้งดินให้เปรี้ยว" ทำดินให้แห้งและเปียกสลับกันไป เป็นการเร่งปฏิกิริยาเคมีกระตุ้นให้สารประกอบกำมะถันทำปฏิกิริยาออกวิเจนในอากาศ ทำให้ดินเป็นกรดจัดถึงขั้นแกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด จนพืชเศรษฐกิจต่างๆ ไม่สามารถเจริญงอกงามให้ผลผลิตได้ จากนั้น (มีต่อ)

จึงหาวิธีการปรับปรุงดินให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ กระทำได้หลายวิธี ประการแรกคือ ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน โดยควบคุมให้อยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบกำมะถันเพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ประการที่สอง การปรับปรุงดินสามารถทำได้ 3วิธี วิธีแรก ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดเพื่อให้ค่า pH เพิ่มขึ้นโดยปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลงแล้วระบายออกประมาณ 2-3ครั้ง วิธีที่สอง ใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน (มีต่อ)

ให้ปูนมาร์ลหรือปูนฝุ่นในอัตรา 1-4 ตัน/ไร่ มากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรด วิธีที่สาม การใช้ปูนควบคู่กับการใช้น้ำล้าง โดยใช้ปูนกระตุ้นเพื่อให้น้ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อัตราการใช้ปูนโดยทั่วไป 1-2ตัน/ไร่ แล้วไถกลบจากนั้นใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดและควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนเพื่อมิให้สารประกอบกำมะถันทำปฏิกิริยากับออกซิเจนปลดปล่อยกรดออกมา ประการที่สาม เป็นการปรับสภาพพื้นที่ โดยทั่วไปมี 2วิธี (มีต่อ)

วิธีแรกคือ ปรับระดับผิวหน้าดิน โดยปรับให้หน้าดินมีความลาดเอียงพอที่จะให้น้ำไหลออกไปสู่คลองระบายน้ำได้ทั้งยังต้องจัดตกแต่งแปลงนาหรือกระทงนาและคันนา เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้ตามต้องการ วิธีที่สอง การยกร่องปลูกพืชต้องทำการขุดท้องร่องเพื่อให้เหมาะสมกับพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดที่จะปลูกโดยที่ต้องทราบก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวมีดินเลนที่มีสารประกอบกำมะถันในระดับใด จากนั้นให้ขุดลึกเพียงแค่ระดับดินเลน โดยทั่วไปจะขุดในระดับความลึกไม่เกิน 100 ซม.