ปัญหาความต้านทานต่อสารแมลงของหนอนใยผักและแนวทางการแก้ไข / พรรณเพ็ญ ชโยภาส

By: พรรณเพ็ญ ชโยภาสCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | หนอนใยผัก In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2543) หน้า 49-52Summary: หนอนใยผัก (Plutella xylostella Linn;Lep idoptera; Yponomeutidge) เป็นหนอนของผีเสื้อที่กัดทำลายใบผักตระกูลกระหล่ำปลี ทำให้เกิดความเสียหาย และพบว่าหนอนใยผักสามารถสร้างความต้านทานต่อสารค่าแมลงได้อย่างรวดเร็วเพราะการที่มีวงจรชีวิตสั้น ปีหนึ่งมีถึง 17-25 ชั่วอายุขัยและสามารถสร้างใยทิ้งตัวหนีเมื่อมีการกระทบกระเทือน จึงรอดจากการโดนสารฆ่าแมลง เกษตรกรประสบปัญหาการพ่นสารฆ่าแมลงที่เคยใช้ได้ผลดีกลับไม่ได้ผลเพราะหนอนสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง (มีต่อ)Summary: การป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ด้วยวิธีการอื่นนอกเหนือจาดการใช้สารฆ่าแมลงมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง 80 กับดัก/ ไร่ จะช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า 50% การใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนสามารถป้องกันแมลงศัตรูจำนวนหนอนผีเสื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้แบคทีเรียในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักนั้นได้มีการศึกษาแล้วเช่นกัน ซึ่งการใช้เชื้อแบคทีเรียในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักจะช่วยอนุรักษ์ปริมาณแมลงศัตรูธรรมชาติอีกด้วย ส่วนการทดลองใช้ไส้เดือนฝอยในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (มีต่อ)Summary: พบว่าหลังพ่นไส้เดือนฝอย 1 วัน ในอัตรา1600-3200 ตัว/มล. มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก 32-35% ไส้เดือนฝอยมักจะตายก่อนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ส่วนการใช้สารสกัดจากสะเดาในการป้องกันกำจัดหนอนใยฝักพบว่า การใช้เมล็ดสะเดา 1 กก./นำ 20 ลิตร แช่ไว้ 24 ชั่วโมงมีประสิทธิภาพดีในการควบคุมหนอนใยฝัก จะเห็นว่ามีวิธีการป้องกันกำจัดวิธีอื่นๆที่ได้ผลดี ควรนำมาใช้ร่วมกับการพ่นสารฆ่าแมลง เช่น การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง การใช้มุ้งตาข่ายไนลอน การใช้เชื้อแบคทีเรีย และการใช้สารสกัดจากสะเดาทั้งนี้เพื่อลดการทำลายของหนอนใยผักและช่วยชะลอความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงของหนอนใยผัก
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

หนอนใยผัก (Plutella xylostella Linn;Lep idoptera; Yponomeutidge) เป็นหนอนของผีเสื้อที่กัดทำลายใบผักตระกูลกระหล่ำปลี ทำให้เกิดความเสียหาย และพบว่าหนอนใยผักสามารถสร้างความต้านทานต่อสารค่าแมลงได้อย่างรวดเร็วเพราะการที่มีวงจรชีวิตสั้น ปีหนึ่งมีถึง 17-25 ชั่วอายุขัยและสามารถสร้างใยทิ้งตัวหนีเมื่อมีการกระทบกระเทือน จึงรอดจากการโดนสารฆ่าแมลง เกษตรกรประสบปัญหาการพ่นสารฆ่าแมลงที่เคยใช้ได้ผลดีกลับไม่ได้ผลเพราะหนอนสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง (มีต่อ)

การป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ด้วยวิธีการอื่นนอกเหนือจาดการใช้สารฆ่าแมลงมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง 80 กับดัก/ ไร่ จะช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า 50% การใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนสามารถป้องกันแมลงศัตรูจำนวนหนอนผีเสื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้แบคทีเรียในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักนั้นได้มีการศึกษาแล้วเช่นกัน ซึ่งการใช้เชื้อแบคทีเรียในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักจะช่วยอนุรักษ์ปริมาณแมลงศัตรูธรรมชาติอีกด้วย ส่วนการทดลองใช้ไส้เดือนฝอยในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (มีต่อ)

พบว่าหลังพ่นไส้เดือนฝอย 1 วัน ในอัตรา1600-3200 ตัว/มล. มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก 32-35% ไส้เดือนฝอยมักจะตายก่อนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ส่วนการใช้สารสกัดจากสะเดาในการป้องกันกำจัดหนอนใยฝักพบว่า การใช้เมล็ดสะเดา 1 กก./นำ 20 ลิตร แช่ไว้ 24 ชั่วโมงมีประสิทธิภาพดีในการควบคุมหนอนใยฝัก จะเห็นว่ามีวิธีการป้องกันกำจัดวิธีอื่นๆที่ได้ผลดี ควรนำมาใช้ร่วมกับการพ่นสารฆ่าแมลง เช่น การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง การใช้มุ้งตาข่ายไนลอน การใช้เชื้อแบคทีเรีย และการใช้สารสกัดจากสะเดาทั้งนี้เพื่อลดการทำลายของหนอนใยผักและช่วยชะลอความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงของหนอนใยผัก