โครงการแก้มลิง, โครงการธนาคารโค-กระบือ / ชาติบุตร บุณยะจิตติ

By: ชาติบุตร บุณยะจิตติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 23 (ธันวาคม 2542) หน้า 50-52Summary: โครงการแก้มลิง เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมคำว่า "แก้มลิง" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานอรรถาธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรับปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยไปไว้ในกระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภค และกลืนกินเข้าไปภายหลัง" เปรียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักนำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำเปรียบได้กับแก้มลิง (มีต่อ)Summary: แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง วิธีการของโครงการแก้มลิง 1.ระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล 2.เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ 3.สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล (มีต่อ)Summary: เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมนั้นลดน้อยลง 4. ถ้าระดับน้ำในทะเลสูงกว่าระดับน้ำในบ่อพักให้ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้ย้อนกลับโดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow) โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ จ.อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพฯ และสมุทรสาคร โดยดำเนินการเป็น 3 โครงการ (มีต่อ)Summary: โครงการแรกคือ โครงการแก้มลิง"แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง" โครงการที่สองคือ โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" และโครงการที่สามคือ โครงการแก้มลิง"คลองสุนัขหอน" โครงการธนาคารโค-กระบือ เป็นโครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรยากจนที่ไม่มีโค-กระบือ เป็นของตนเอง โดยแบ่งเบาภาระค่าเช่า หรือดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสเป็นเจ้าของโค-กระบือ เพื่อใช้แรงงานต่อไป ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากธนาคารโค-กระบือ นั้นส่งผลโดยตรงกับเกษตรกรที่ยากจน (มีต่อ)Summary: คือ ได้ช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่าแรงงานโค-กระบือ ในอัตราสูงเป็นหลักประกันอย่างหนึ่ง ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมนั้นเกิดขึ้นจากการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการพัฒนา เพราะแรงงานแบบดั้งเดิม เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ เป็นลักษณะการอยู่ร่วมกันและการพึ่งพากันตามธรรมชาติ เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้เองจากการดำรงชีพอีกทางหนึ่ง การใช้แรงงานสัตว์ก็เป็นการเลือกใช้พลังงานจากธรรมชาติแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นทรัพยากรที่นับวันจะเหลือน้อยลงไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครงการแก้มลิง เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมคำว่า "แก้มลิง" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานอรรถาธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรับปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยไปไว้ในกระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภค และกลืนกินเข้าไปภายหลัง" เปรียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักนำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำเปรียบได้กับแก้มลิง (มีต่อ)

แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง วิธีการของโครงการแก้มลิง 1.ระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล 2.เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ 3.สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล (มีต่อ)

เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมนั้นลดน้อยลง 4. ถ้าระดับน้ำในทะเลสูงกว่าระดับน้ำในบ่อพักให้ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้ย้อนกลับโดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow) โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ จ.อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพฯ และสมุทรสาคร โดยดำเนินการเป็น 3 โครงการ (มีต่อ)

โครงการแรกคือ โครงการแก้มลิง"แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง" โครงการที่สองคือ โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" และโครงการที่สามคือ โครงการแก้มลิง"คลองสุนัขหอน" โครงการธนาคารโค-กระบือ เป็นโครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรยากจนที่ไม่มีโค-กระบือ เป็นของตนเอง โดยแบ่งเบาภาระค่าเช่า หรือดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสเป็นเจ้าของโค-กระบือ เพื่อใช้แรงงานต่อไป ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากธนาคารโค-กระบือ นั้นส่งผลโดยตรงกับเกษตรกรที่ยากจน (มีต่อ)

คือ ได้ช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่าแรงงานโค-กระบือ ในอัตราสูงเป็นหลักประกันอย่างหนึ่ง ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมนั้นเกิดขึ้นจากการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการพัฒนา เพราะแรงงานแบบดั้งเดิม เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ เป็นลักษณะการอยู่ร่วมกันและการพึ่งพากันตามธรรมชาติ เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้เองจากการดำรงชีพอีกทางหนึ่ง การใช้แรงงานสัตว์ก็เป็นการเลือกใช้พลังงานจากธรรมชาติแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นทรัพยากรที่นับวันจะเหลือน้อยลงไป