กรมชลประทาน งบประมาณยังหนาแน่น 12,000 ล้านบาท

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): กรมชลประทาน -- งบประมาณ | SCI-TECH In: ข่าวช่าง ปีที่ 28 ฉบับที่ 338 (กรกฎาคม 2543) หน้า 24 - 27Summary: ในปี 2544 กรมชลประทานได้รับงบประมาณเพื่อการก่อสร้างโครงการใหม่ จำนวน 12,393ล้านบาท และตั้งเป็นงบผูกพันปี 2545 จำนวน 2,631ล้านบาท ต่อเนื่องปี 2546 675ล้านบาท รวมเป็นเม็ดเงินก่อสร้างทั้งสิ้น 15,700ล้านบาท โครงการที่ได้รับงบประมาณสูงสุดยังคงเป็นงานพัฒนาแหล่งน้ำ คือ โครงการชลประทานขนาดเล็ก จำนวน 255โครงการ ได้รับงบประมาณสูงถึง 4,000ล้านบาท ซึ่งในปีก่อนๆ โครงการชลประทานขนาดเล็กจะได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดเสมอ (มีต่อ)Summary: รองลงมาคือ งานจัดการน้ำชลประทานและคลองธรรมชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ 1,014โครงการ ได้รับงบประมาณจำนวน 1,474ล้านบาท งานก่อสร้างแหล่งน้ำระบบส่งน้ำ ในพื้นที่หมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน 27โครงการ ได้รับงบประมาณจำนวน 400ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาทางลำเลียงย่อย ได้รับงบประมาณปี 2544 จำนวน 242ล้านบาท งานพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นงานก่อสร้างระบบส่งน้ำ เพื่อสนับสนุนศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 10แห่ง (มีต่อ)Summary: ได้รับงบประมาณ 142ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาทางลำเลียงใหญ่ ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 136ล้านบาท และค่าขุดลอกอ่างเก็บน้ำได้รับงบประมาณในปีนี้จำนวน 120ล้านบาท นอกเหนือจากนี้เป็นโครงการก่อสร้างที่มีมูลค่าก่อสร้างสูงเกิน 100ล้าน ซึ่งจะผูกพันไปถึง 2545-2546 ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2.โครงการคลองสียัด 3.โครงการแม่เลียงพัฒนา จ.ลำปาง 4.โครงการประตูระบายน้ำบ้านนาบัว จ.นครพนม (มีต่อ)Summary: 5.โครงการฮ้วยน้ำฮิ จ.น่าน 6.โครงการลำเชียงไกร (ตอนบน) จ.นครราชสีมา นอกจากนี้หากพิจารณางบประมาณก่อสร้างโครงการใหม่ปี 2544 ทั้งหมดของกรมชลประทานพบว่า กรมชลประทานยังได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างโครงการราดยางถนนบนคันคลอง คันกั้นน้ำในพื้นที่ชลประทานต่างๆ ซึ่งมีมูลค่าก่อสร้างตั้งแต่ 10ล้านบาทขึ้นไป ร่วม 50โครงการ รวมไปถึงโครงการปรับปรุงระบบกักเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ ประตูระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ ดาดคอนกรีต ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศแม้จะมีมูลค่าไม่สูงนัก และส่วนใหญ่เป็นงบประมาณจบในปีเดียว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในปี 2544 กรมชลประทานได้รับงบประมาณเพื่อการก่อสร้างโครงการใหม่ จำนวน 12,393ล้านบาท และตั้งเป็นงบผูกพันปี 2545 จำนวน 2,631ล้านบาท ต่อเนื่องปี 2546 675ล้านบาท รวมเป็นเม็ดเงินก่อสร้างทั้งสิ้น 15,700ล้านบาท โครงการที่ได้รับงบประมาณสูงสุดยังคงเป็นงานพัฒนาแหล่งน้ำ คือ โครงการชลประทานขนาดเล็ก จำนวน 255โครงการ ได้รับงบประมาณสูงถึง 4,000ล้านบาท ซึ่งในปีก่อนๆ โครงการชลประทานขนาดเล็กจะได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดเสมอ (มีต่อ)

รองลงมาคือ งานจัดการน้ำชลประทานและคลองธรรมชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ 1,014โครงการ ได้รับงบประมาณจำนวน 1,474ล้านบาท งานก่อสร้างแหล่งน้ำระบบส่งน้ำ ในพื้นที่หมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน 27โครงการ ได้รับงบประมาณจำนวน 400ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาทางลำเลียงย่อย ได้รับงบประมาณปี 2544 จำนวน 242ล้านบาท งานพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นงานก่อสร้างระบบส่งน้ำ เพื่อสนับสนุนศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 10แห่ง (มีต่อ)

ได้รับงบประมาณ 142ล้านบาท ค่าบำรุงรักษาทางลำเลียงใหญ่ ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 136ล้านบาท และค่าขุดลอกอ่างเก็บน้ำได้รับงบประมาณในปีนี้จำนวน 120ล้านบาท นอกเหนือจากนี้เป็นโครงการก่อสร้างที่มีมูลค่าก่อสร้างสูงเกิน 100ล้าน ซึ่งจะผูกพันไปถึง 2545-2546 ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2.โครงการคลองสียัด 3.โครงการแม่เลียงพัฒนา จ.ลำปาง 4.โครงการประตูระบายน้ำบ้านนาบัว จ.นครพนม (มีต่อ)

5.โครงการฮ้วยน้ำฮิ จ.น่าน 6.โครงการลำเชียงไกร (ตอนบน) จ.นครราชสีมา นอกจากนี้หากพิจารณางบประมาณก่อสร้างโครงการใหม่ปี 2544 ทั้งหมดของกรมชลประทานพบว่า กรมชลประทานยังได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างโครงการราดยางถนนบนคันคลอง คันกั้นน้ำในพื้นที่ชลประทานต่างๆ ซึ่งมีมูลค่าก่อสร้างตั้งแต่ 10ล้านบาทขึ้นไป ร่วม 50โครงการ รวมไปถึงโครงการปรับปรุงระบบกักเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ ประตูระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ ดาดคอนกรีต ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศแม้จะมีมูลค่าไม่สูงนัก และส่วนใหญ่เป็นงบประมาณจบในปีเดียว