วิปริตอุณหภูมิแผ่นดินแห้ง-น้ำแข็งละลาย / อัฌชา ก.บัวเกษร

By: อัฌชา ก.บัวเกษรCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โลก | บรรยากาศ In: เส้นทางสีเขียว ฉบับที่ 4 (มิถุนายน-กันยายน 2542) หน้า 18 - 33Summary: ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยสัมผัสได้ชัดเจนถึง"ความร้อน" ที่ไม่เหมือนเดิม โดยเป็นความร้อนที่เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นในทุกปี และพกพาความแห้งแล้งให้กับทุกพื้นที่ของประเทศไทย ความร้อนที่รุนแรงขึ้นจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้นเป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่าภาวะโลกร้อน ตัวแทนรัฐบาลได้ออกรายงานสรุปผลการศึกษาออกมาเมื่อปี 1996 ว่ามนุษย์คือ ผู้ทำให้โลกร้อนขึ้นโดยไม่ควบคุม และยืนยันว่าปี1996 และ 1997 ที่ผ่านมาโลกเราร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ (มีต่อ)Summary: รายงานจากสำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศของสหรัฐได้ออกรายงาน เมื่อ 8มกราคม 1998ว่า ปี 1997นับเป็นปีที่ร้อนที่สุดในรอบ 100ปี ร้อนกว่าปี 1990 ที่เคยร้อนมากที่สุดในอดีต ประมาณเศษ 8ส่วน 100ของ 1องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์พบว่าน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือที่จับแข็งมานานเริ่มจะละลายแล้ว แดเนียล ฮิกเกล แห่งหมาวิทยาลัยแมสสาซูเซตต์ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกแม้เพียงเล็กน้อยจะมีผลขยายกว้างเมื่อเกิดกับระบบชีววิทยาทั้งมวล (มีต่อ)Summary: ไข่ของปลาน้ำจืดจะไวมากต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำ หากอุณหภูมิของน้ำในลำธารสูงขึ้น 6องศาฟาเรนไฮต์ ปลาเทร้าในลำธาร เขตเทือกเขาแอฟฟาเลเซียน แต่ปลาทะเลบางชนิดจะมีพื้นที่หากินมากขึ้นไปในเขตแคนาดา อีกราว 300ไมล์ แม้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ หากโลกร้อนขึ้น แต่ที่แน่นอนและเกิดขึ้นแล้วทะเลจะสูงขึ้นถึง 10นิ้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นโดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศ (มีต่อ)Summary: โดยอาศัยสมมติฐานที่ว่าถ้าหากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขั้นบรรยากาศของโลกในปี 2100 เพิ่มขึ้นเป็น 2เท่า พบว่าอุณหภูมิผิวพื้นโดยเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น 1-3.5องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 15-95 เซนติเมตร ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศน์ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของมนุษย์ สำหรับภัยต่อมนุษย์นั้นจะเห็นผลชัดเจนกับประชากรบริเวณชายฝั่งโดยประมาณว่า จะมีประชากรประมาณ 46ล้านคนต่อปี ในปัจจุบันที่เสี่ยงภัยต่อปีน้ำท่วมเนื่องจากคลื่นซัดฝั่ง (มีต่อ)Summary: และหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1เมตร จำนวนผู้เสี่ยงภัยน้ำท่วมจะสูงขึ้น 118ล้านคน โดยเฉพาะกับประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ผลกระทบจากเอลนิโนจะเกิดขึ้นตามแนวยาวของทวีปนับตั้งแต่การก่อพายุในเม็กซิโกตะวันตกทำให้ อาเยนตินามีความผิดปกติ รวมทั้งยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในบอสเนีย เปรู อินโดนีเซีย เวียดนาม ออสเตรเลีย และประเทศไทย หายนะจากเอลนิโน จากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลกในระยะที่ผ่านมาจากน้ำมือมนุษย์ (มีต่อ)Summary: จนสร้างความวิปริตแปรปรวนทางธรรมชาตินั้นได้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาครวม 160ประเทศ รวมทั้งสหประชาชาติ ในที่ประชุมกรุงเกียวโต เห็นความสำคัญและหาแนวทางลดปรากฎการณ์เรือนกระจก โดยมีมติให้ประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้วลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยสัมผัสได้ชัดเจนถึง"ความร้อน" ที่ไม่เหมือนเดิม โดยเป็นความร้อนที่เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นในทุกปี และพกพาความแห้งแล้งให้กับทุกพื้นที่ของประเทศไทย ความร้อนที่รุนแรงขึ้นจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้นเป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่าภาวะโลกร้อน ตัวแทนรัฐบาลได้ออกรายงานสรุปผลการศึกษาออกมาเมื่อปี 1996 ว่ามนุษย์คือ ผู้ทำให้โลกร้อนขึ้นโดยไม่ควบคุม และยืนยันว่าปี1996 และ 1997 ที่ผ่านมาโลกเราร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ (มีต่อ)

รายงานจากสำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศของสหรัฐได้ออกรายงาน เมื่อ 8มกราคม 1998ว่า ปี 1997นับเป็นปีที่ร้อนที่สุดในรอบ 100ปี ร้อนกว่าปี 1990 ที่เคยร้อนมากที่สุดในอดีต ประมาณเศษ 8ส่วน 100ของ 1องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์พบว่าน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือที่จับแข็งมานานเริ่มจะละลายแล้ว แดเนียล ฮิกเกล แห่งหมาวิทยาลัยแมสสาซูเซตต์ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกแม้เพียงเล็กน้อยจะมีผลขยายกว้างเมื่อเกิดกับระบบชีววิทยาทั้งมวล (มีต่อ)

ไข่ของปลาน้ำจืดจะไวมากต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำ หากอุณหภูมิของน้ำในลำธารสูงขึ้น 6องศาฟาเรนไฮต์ ปลาเทร้าในลำธาร เขตเทือกเขาแอฟฟาเลเซียน แต่ปลาทะเลบางชนิดจะมีพื้นที่หากินมากขึ้นไปในเขตแคนาดา อีกราว 300ไมล์ แม้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ หากโลกร้อนขึ้น แต่ที่แน่นอนและเกิดขึ้นแล้วทะเลจะสูงขึ้นถึง 10นิ้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นโดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศ (มีต่อ)

โดยอาศัยสมมติฐานที่ว่าถ้าหากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขั้นบรรยากาศของโลกในปี 2100 เพิ่มขึ้นเป็น 2เท่า พบว่าอุณหภูมิผิวพื้นโดยเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น 1-3.5องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 15-95 เซนติเมตร ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศน์ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของมนุษย์ สำหรับภัยต่อมนุษย์นั้นจะเห็นผลชัดเจนกับประชากรบริเวณชายฝั่งโดยประมาณว่า จะมีประชากรประมาณ 46ล้านคนต่อปี ในปัจจุบันที่เสี่ยงภัยต่อปีน้ำท่วมเนื่องจากคลื่นซัดฝั่ง (มีต่อ)

และหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1เมตร จำนวนผู้เสี่ยงภัยน้ำท่วมจะสูงขึ้น 118ล้านคน โดยเฉพาะกับประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ผลกระทบจากเอลนิโนจะเกิดขึ้นตามแนวยาวของทวีปนับตั้งแต่การก่อพายุในเม็กซิโกตะวันตกทำให้ อาเยนตินามีความผิดปกติ รวมทั้งยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในบอสเนีย เปรู อินโดนีเซีย เวียดนาม ออสเตรเลีย และประเทศไทย หายนะจากเอลนิโน จากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลกในระยะที่ผ่านมาจากน้ำมือมนุษย์ (มีต่อ)

จนสร้างความวิปริตแปรปรวนทางธรรมชาตินั้นได้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาครวม 160ประเทศ รวมทั้งสหประชาชาติ ในที่ประชุมกรุงเกียวโต เห็นความสำคัญและหาแนวทางลดปรากฎการณ์เรือนกระจก โดยมีมติให้ประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้วลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ