ภัยมืดจากสารรบกวนฮอร์โมนที่อยู่รอบตัวเรา / จักรพงษ์ ลิมปนุสสรณ์

By: จักรพงษ์ ลิมปนุสสรณ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ฮอร์โมน In: สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 ฉบับที่ 14 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 45 - 49Summary: ฮอร์โมนเป็นสารที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อไปตามกระแสเลือดเพื่อไปควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย อีกทั้งควบคุมเมตาโบลิซึมของร่างกายเพื่อให้การทำงานของร่างกายดำเนินได้อย่างปกติ การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อมีความสลับซับซ้อน และมีหลายขั้นตอน จึงทำให้ต่อมไร้ท่อไวต่อการถูกรบกวนจากสิ่งเร้าภายนอก ทำให้ร่างกายมีความไวจากการกระตุ้นของฮอร์โมนด้วย สารรบกวนฮอร์โมน (hormone disruptors) หรือสารรบกวนต่อมไร้ท่อ (มีต่อ)Summary: เป็นสารเคมีที่สามารถรบกวนการทำงานของฮอร์โมนหรือต่อมไร้ท่อในการควบคุมการทำงานของร่างกาย จากการศึกษากลไกในการรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนสามารถแบ่งสารรบกวนฮอร์โมนได้ 3ประเภท คือ 1.สารเลียนแบบฮอร์โมน 2.สารขัดขวางการทำงานของฮอร์โมน 3.สารกระตุ้น สารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนส่วนมากเป็นสารสังเคราะห์ ละลายในไขมันได้แก่ ยาฆ่าแมลง พวก Organochlorine เช่น DDT และ Kepone และสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม (มีต่อ)Summary: นอกจากนั้นสารรบกวนฮอร์โมนยังมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทอีกด้วย สารรบกวนฮอร์โมนหลายตัวได้แก่ PcBs, Dioxins, DDT และยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Organochlorine มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ลดความสามารถในการเรียนรู้และการจำ ในร่างกายของเราจะมีสารเหล่านี้สะสมอยู่ ซึ่งอาจมาจากอาหารพวกเนื้อสัตว์ ไขมันจากสัตว์ ปลาในแหล่งที่มีการปนเปื้อนของสารเหล่านี้ในปริมาณสูง น้ำดื่มและอากาศ (มีต่อ)Summary: เนื่องจากยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถรบกวนการทำงานของฮอร์โมนจะกระจายไปตามแหล่งเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารแล้วเวียนกลับเข้ามาในสัตว์ซึ่งเป็นอาหารของคน ในขณะนี้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเช่น อเมริกา และยุโรป กำลังร่วมมือกันอย่างจริงจังและทุ่มงบประมาณมหาศาลในการศึกษาปัญหาสารรบกวนฮอร์โมน ส่วนประเทศไทยยังไม่มีการตื่นตัวในเรื่องนี้ (มีต่อ)Summary: และเรายังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการตรวจติดตามเพื่อควบคุมอันตรายจากสารเหล่านี้ รวมทั้งขาดการฝึกอบรมในการใช้และการจัดการสารเคมีอย่างถูกต้อง จึงทำให้ประชาชนมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับอันตรายจากสารเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าภัยจากสารรบกวนฮอร์โมนที่อยู่รอบตัวเราเป็นเรื่องซับซ้อนและควรได้รับความสนใจเพราะนับวันเราจะใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงมิใช่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ควรให้ความร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหานี้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ฮอร์โมนเป็นสารที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อไปตามกระแสเลือดเพื่อไปควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย อีกทั้งควบคุมเมตาโบลิซึมของร่างกายเพื่อให้การทำงานของร่างกายดำเนินได้อย่างปกติ การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อมีความสลับซับซ้อน และมีหลายขั้นตอน จึงทำให้ต่อมไร้ท่อไวต่อการถูกรบกวนจากสิ่งเร้าภายนอก ทำให้ร่างกายมีความไวจากการกระตุ้นของฮอร์โมนด้วย สารรบกวนฮอร์โมน (hormone disruptors) หรือสารรบกวนต่อมไร้ท่อ (มีต่อ)

เป็นสารเคมีที่สามารถรบกวนการทำงานของฮอร์โมนหรือต่อมไร้ท่อในการควบคุมการทำงานของร่างกาย จากการศึกษากลไกในการรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนสามารถแบ่งสารรบกวนฮอร์โมนได้ 3ประเภท คือ 1.สารเลียนแบบฮอร์โมน 2.สารขัดขวางการทำงานของฮอร์โมน 3.สารกระตุ้น สารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนส่วนมากเป็นสารสังเคราะห์ ละลายในไขมันได้แก่ ยาฆ่าแมลง พวก Organochlorine เช่น DDT และ Kepone และสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม (มีต่อ)

นอกจากนั้นสารรบกวนฮอร์โมนยังมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทอีกด้วย สารรบกวนฮอร์โมนหลายตัวได้แก่ PcBs, Dioxins, DDT และยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Organochlorine มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ลดความสามารถในการเรียนรู้และการจำ ในร่างกายของเราจะมีสารเหล่านี้สะสมอยู่ ซึ่งอาจมาจากอาหารพวกเนื้อสัตว์ ไขมันจากสัตว์ ปลาในแหล่งที่มีการปนเปื้อนของสารเหล่านี้ในปริมาณสูง น้ำดื่มและอากาศ (มีต่อ)

เนื่องจากยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถรบกวนการทำงานของฮอร์โมนจะกระจายไปตามแหล่งเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารแล้วเวียนกลับเข้ามาในสัตว์ซึ่งเป็นอาหารของคน ในขณะนี้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเช่น อเมริกา และยุโรป กำลังร่วมมือกันอย่างจริงจังและทุ่มงบประมาณมหาศาลในการศึกษาปัญหาสารรบกวนฮอร์โมน ส่วนประเทศไทยยังไม่มีการตื่นตัวในเรื่องนี้ (มีต่อ)

และเรายังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการตรวจติดตามเพื่อควบคุมอันตรายจากสารเหล่านี้ รวมทั้งขาดการฝึกอบรมในการใช้และการจัดการสารเคมีอย่างถูกต้อง จึงทำให้ประชาชนมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับอันตรายจากสารเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าภัยจากสารรบกวนฮอร์โมนที่อยู่รอบตัวเราเป็นเรื่องซับซ้อนและควรได้รับความสนใจเพราะนับวันเราจะใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงมิใช่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ควรให้ความร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหานี้