กล้อง 3D (3D Camera revolutionises reconstructive surgery)

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อุปกรณ์การแพทย์ In: เทคโนโลยี ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 25Summary: กล้อง 3ทิศทาง (3 dimensions) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ณ เมือง Glasgow ซึ่งจัดว่าเป็นการปฏิวัติรักษาโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ และการทำศัลยกรรมเต้านมให้แก่คนไข้ กล้องนี้จะช่วยให้หมอวินิจฉัยผ่านทางช่องของร่างกายเพียง 1เซนติเมตร อันดับได้ว่าเป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่เหมาะสมมาก โดยกล้องนี้จะทำงานเลียนแบบระบบการทำงานของมนุษย์ซึ่งจะช่วยหมอในการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากกว่า (มีต่อ)Summary: สามารถใช้ได้กับทารกแรกเกิดที่ดิ้นไปมาโดยไม่สามารถบังคับให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ เนื่องจากจะสามารถจับภาพได้อย่างรวดเร็วขนาดเศษหนึ่งส่วนสิบของวินาที ขณะนี้กล้องกำลังถูกทดลองว่าจะสามารถใช้ในการตรวจหามะเร็งเต้านมระยะแรกได้หรือไม่ แม้ว่ากล้องนี้จะอยู่ในช่วงทดลอง แต่มันก็ถูกนำมาใช้แล้วในโรงพยาบาลของแคว้นสก็อตแลนด์หลายๆ แห่ง หากผลการทดลองประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับคาดว่า กล้องนี้จะถูกใช้แพร่หลายไปทั่วสหราชอาณาจักร (มีต่อ)Summary: Dr. Paul Siebert ผู้อำนวยการสถาบัน Faraday partnership ที่มีที่ตั้งใน Glasgow University เชื่อว่าเครื่องมือในทุกๆ โรงพยาบาลจะเปลี่ยนมาใช้กล้อง 3D แทน เนื่องจากมันสามารถช่วยหมอในการวินิจฉัยโรค เพราะสามารถมองเห็นได้แม้ในส่วนของเนื้อที่บวม เพียงพื้นที่เล็กๆ ตลอดจนรวมไปถึงแผลเป็นในเนื้อเยื่อด้วย ราคาถูก รวดเร็ว และประสิทธิภาพสูงทำให้เป็นที่ดึงดูดใจในการนำมาใช้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กล้อง 3ทิศทาง (3 dimensions) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ณ เมือง Glasgow ซึ่งจัดว่าเป็นการปฏิวัติรักษาโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ และการทำศัลยกรรมเต้านมให้แก่คนไข้ กล้องนี้จะช่วยให้หมอวินิจฉัยผ่านทางช่องของร่างกายเพียง 1เซนติเมตร อันดับได้ว่าเป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่เหมาะสมมาก โดยกล้องนี้จะทำงานเลียนแบบระบบการทำงานของมนุษย์ซึ่งจะช่วยหมอในการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากกว่า (มีต่อ)

สามารถใช้ได้กับทารกแรกเกิดที่ดิ้นไปมาโดยไม่สามารถบังคับให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ เนื่องจากจะสามารถจับภาพได้อย่างรวดเร็วขนาดเศษหนึ่งส่วนสิบของวินาที ขณะนี้กล้องกำลังถูกทดลองว่าจะสามารถใช้ในการตรวจหามะเร็งเต้านมระยะแรกได้หรือไม่ แม้ว่ากล้องนี้จะอยู่ในช่วงทดลอง แต่มันก็ถูกนำมาใช้แล้วในโรงพยาบาลของแคว้นสก็อตแลนด์หลายๆ แห่ง หากผลการทดลองประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับคาดว่า กล้องนี้จะถูกใช้แพร่หลายไปทั่วสหราชอาณาจักร (มีต่อ)

Dr. Paul Siebert ผู้อำนวยการสถาบัน Faraday partnership ที่มีที่ตั้งใน Glasgow University เชื่อว่าเครื่องมือในทุกๆ โรงพยาบาลจะเปลี่ยนมาใช้กล้อง 3D แทน เนื่องจากมันสามารถช่วยหมอในการวินิจฉัยโรค เพราะสามารถมองเห็นได้แม้ในส่วนของเนื้อที่บวม เพียงพื้นที่เล็กๆ ตลอดจนรวมไปถึงแผลเป็นในเนื้อเยื่อด้วย ราคาถูก รวดเร็ว และประสิทธิภาพสูงทำให้เป็นที่ดึงดูดใจในการนำมาใช้