มาตรการและนโยบายของรัฐในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ / นิศากร โฆษิตรัตน์

By: นิศากร โฆษิตรัตน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม - มิถุนายน 2543) หน้า 68 - 70Summary: ปริมาณขยะมูลฝอยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ในปริมาณนี้จะเป็นผลเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่ถึงร้อลละ 45 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 36,100 ล้านบาท และเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์เหล่านี้อีกประมาณ 6,000 ล้านบาทแล้วประเทศไทยต้องสูญเสียเงินเนื่องจากการขาดมาตรการ การจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วถึงปีละ 42,500 ล้านบาท นอกจากนั้นประเทศประชาคมยุโรป ( European unino, EU )ได้มีการบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับของเสียบรรจุภัณฑ์ โดยมีหลักการให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าต้องเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ของตนหลังจากการบริโภคของประชาชนทั้งนี้เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำและรีไซเคิลให้มากที่สุด (มีต่อ)Summary: โดยกฏหมายดังกล่าวได้กำหนดทางเลือก 2 ทาง คือ นำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับประเทศผู้ผลิตหรือจ่ายค่าธรรมเนียมจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ สำหรับประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน คือ สินค้าจากประเทศไทยที่ส่งออกไปขายในกลุ่มประเทศ EU ต้องเสียค่าธรรมเนียมจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ ส่งผลให้สินค้าไทยมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าที่ผลิตจากกลุ่มประเทศ EU ในขณะที่สินค้านำเข้าจากต่างประเทศไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย ทำให้บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วจากต่างประเทศเป็นภาระให้รัฐบาลต้องจัดการ ดังนั้นการใช้มาตรการทางภาษีในการจัดการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ (มีต่อ)Summary: และวัสดุเหลือใช้จะช่วยให้รัฐบาลมีรายได้จากค่าธรรมเนียมมาใช้ในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้น ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากออกมาตรการจัดการเก็บภาษีในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ คือ 1. มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตามกฏหมายสากลด้านสิ่งแวดล้อม 2. ลดมลภาวะที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 3. มีระบบการจัดการบรรจุภัณฑ์และสินค้าที่เป็นอันตราย 4. มีมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5. บ้านเมืองสะอาด 6. มีรายได้เข้ารัฐจากค่าธรรมเนียมจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ทั้งจากสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้า
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปริมาณขยะมูลฝอยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ในปริมาณนี้จะเป็นผลเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่ถึงร้อลละ 45 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 36,100 ล้านบาท และเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์เหล่านี้อีกประมาณ 6,000 ล้านบาทแล้วประเทศไทยต้องสูญเสียเงินเนื่องจากการขาดมาตรการ การจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วถึงปีละ 42,500 ล้านบาท นอกจากนั้นประเทศประชาคมยุโรป ( European unino, EU )ได้มีการบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับของเสียบรรจุภัณฑ์ โดยมีหลักการให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าต้องเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ของตนหลังจากการบริโภคของประชาชนทั้งนี้เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำและรีไซเคิลให้มากที่สุด (มีต่อ)

โดยกฏหมายดังกล่าวได้กำหนดทางเลือก 2 ทาง คือ นำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับประเทศผู้ผลิตหรือจ่ายค่าธรรมเนียมจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ สำหรับประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน คือ สินค้าจากประเทศไทยที่ส่งออกไปขายในกลุ่มประเทศ EU ต้องเสียค่าธรรมเนียมจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ ส่งผลให้สินค้าไทยมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าที่ผลิตจากกลุ่มประเทศ EU ในขณะที่สินค้านำเข้าจากต่างประเทศไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย ทำให้บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วจากต่างประเทศเป็นภาระให้รัฐบาลต้องจัดการ ดังนั้นการใช้มาตรการทางภาษีในการจัดการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ (มีต่อ)

และวัสดุเหลือใช้จะช่วยให้รัฐบาลมีรายได้จากค่าธรรมเนียมมาใช้ในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้น ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากออกมาตรการจัดการเก็บภาษีในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้ คือ 1. มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตามกฏหมายสากลด้านสิ่งแวดล้อม 2. ลดมลภาวะที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 3. มีระบบการจัดการบรรจุภัณฑ์และสินค้าที่เป็นอันตราย 4. มีมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5. บ้านเมืองสะอาด 6. มีรายได้เข้ารัฐจากค่าธรรมเนียมจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ทั้งจากสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้า