รัฐเร่งพัฒนา SME ยานยนต์รับมือการค้าเสรี

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อุตสาหกรรมยานยนต์ In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 (ตุลาคม 2542) หน้า 51 - 55Summary: ในปี 2542 อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มมีแนวโน้มและทิศทางที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันทางภาครัฐบาลก็หันมาดูแลอุตสาหกรรมประเภทนี้อย่างจริงจัง ล่าสุดมีการจัดทำโครงการ SME เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้น มีเป้าหมายหลักเพื่อที่จะให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางแห่งการผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ของเอเชีย โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งรับผิดชอบงานทางด้านนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยสถานภาพปัจจุบันผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมทางด้านรถยนต์ (SME) ส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนา การทดสอบผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านการผลิต บุคลากร การเงิน และการตลาด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพสนองตอบต่อโรงงานประกอบยานยนต์ได้ตามมาตรฐาน และส่งมอบทันตามเวลาที่กำหนด (มีต่อ)Summary: รัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันรถยนต์ให้เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรม ตรวจสอบ ทดสอบ ประสานงาน ศึกษาวิจัย ฝึกอบรมและพัฒนาแรงงาน สำหรับบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหาร วิศวกร หัวหน้างาน และช่างฝีมือ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้รัฐบาลยังทำความตกลงร่วมกันระหว่างไทย-ออสเตรเลีย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานระหว่างภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการประกอบรถยนต์ และกิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (มีต่อ)Summary: โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็นพื้นฐานทางเทคโนโลยี ตลอดจนนำมาตรการเขตการค้าเสรีมาใช้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ 3 โครงการด้วยกันคือ 1.จัดหลักสูตรและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 2.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 3.โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีปัญหาและจุดอ่อนที่จำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่นประสิทธิภาพการผลิตยานยนต์ในประเทศไทย เมื่อเทียบกับผู้ผลิตชั้นนำของโลกแล้วค่อนข้างต่ำ (มีต่อ)Summary: ปัญหาต่างๆ ที่พบในอุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นที่จะต้องหาทางแก้ไข ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะร่วมกันหาทางในลดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้มากที่ทุดเท่าที่จะทำได้ และจะต้องเร่งทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมารองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต ซึ่งขณะนี้หลายบริษัทได้เริ่มทำบ้างแล้ว โดยตั้งหน่วยงานวิจัย และพัฒนาภายในบริษัท แต่เป็นการดำเนินการในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าที่จะให้ความสำคัญอย่างจริงจัง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในปี 2542 อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มมีแนวโน้มและทิศทางที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันทางภาครัฐบาลก็หันมาดูแลอุตสาหกรรมประเภทนี้อย่างจริงจัง ล่าสุดมีการจัดทำโครงการ SME เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้น มีเป้าหมายหลักเพื่อที่จะให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางแห่งการผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ของเอเชีย โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งรับผิดชอบงานทางด้านนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยสถานภาพปัจจุบันผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมทางด้านรถยนต์ (SME) ส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนา การทดสอบผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านการผลิต บุคลากร การเงิน และการตลาด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพสนองตอบต่อโรงงานประกอบยานยนต์ได้ตามมาตรฐาน และส่งมอบทันตามเวลาที่กำหนด (มีต่อ)

รัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันรถยนต์ให้เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรม ตรวจสอบ ทดสอบ ประสานงาน ศึกษาวิจัย ฝึกอบรมและพัฒนาแรงงาน สำหรับบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหาร วิศวกร หัวหน้างาน และช่างฝีมือ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้รัฐบาลยังทำความตกลงร่วมกันระหว่างไทย-ออสเตรเลีย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานระหว่างภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการประกอบรถยนต์ และกิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (มีต่อ)

โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็นพื้นฐานทางเทคโนโลยี ตลอดจนนำมาตรการเขตการค้าเสรีมาใช้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ 3 โครงการด้วยกันคือ 1.จัดหลักสูตรและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 2.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 3.โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีปัญหาและจุดอ่อนที่จำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่นประสิทธิภาพการผลิตยานยนต์ในประเทศไทย เมื่อเทียบกับผู้ผลิตชั้นนำของโลกแล้วค่อนข้างต่ำ (มีต่อ)

ปัญหาต่างๆ ที่พบในอุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นที่จะต้องหาทางแก้ไข ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะร่วมกันหาทางในลดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้มากที่ทุดเท่าที่จะทำได้ และจะต้องเร่งทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมารองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต ซึ่งขณะนี้หลายบริษัทได้เริ่มทำบ้างแล้ว โดยตั้งหน่วยงานวิจัย และพัฒนาภายในบริษัท แต่เป็นการดำเนินการในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าที่จะให้ความสำคัญอย่างจริงจัง