ผลกระทบของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรต่อสมรรถภาพของไก่เนื้อและไก่พื้นเมืองลูกผสมทางการค้า / อนุชา แสงโสภณ ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): อนุชา แสงโสภณCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ไก่เนื้อ, การเลี้ยง | ไก่เนื้อ -- วิจัย In: พระจอมเกล้าลาดกระบัง ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2543) หน้า 15-21Summary: การศึกษาถึงผลการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในสูตรอาหารไก่ แบ่งออกเป็น 2การทดลองโดยการทดลองที่ 1 ใช้ไก่เนื้อลูกผสมทางการค้า และการทดลองที่2 ใช้ไก่พื้นเมืองลูกผสมทางการค้า วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design ซึ่งในแต่ละการทดลอง แบ่งออกเป็น 3กลุ่มการทดลอง คือ I:กลุ่มเปรียบเทียบซึ่งไม่ผสมยาปฏิชีวนะ II:กลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะในปริมาณ 50 ก./100 ก.ก. และ III:กลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในปริมาณ 180 ก./100 ก.ก. (มีต่อ)Summary: ในการทดลองที่ I:การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีผลกระทบต่อน้ำหนักตัว และอัตราการเจริญเติบโตของไก่เนื้ออายุ 6สัปดาห์ โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และยังส่งผลต่อน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตของไก่เนื้ออายุ 7สัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม (p>0.05) การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรไม่มีผลกระทบต่อปริมาณการกินอาหารและประสิทธิภาพการใช้อาหารของไก่ (มีต่อ)Summary: ยกเว้นไก่เนื้ออายุ 7สัปดาห์ ซึ่งก็มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสะสมด้อยกว่าไก่ทดลองกลุ่มอื่นเล็กน้อย (p>0.05) นอกจากนั้นกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรยังมีต้นทุนของอาหารผสมต่อน้ำหนักไก่ 1ก.ก. และอัตราการตายสูงกว่าไก่ทดลองทุกกลุ่ม ทั้งในช่วงอายุ 6สัปดาห์ และ 7สัปดาห์ โดยกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะจะมีต้นทุนของอาหารผสมต่อน้ำหนักไก่ 1ก.ก. และอัตราการตายต่ำที่สุด ไก่กลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจร จะมีเปอร์เซ็นต์ซากต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) (มีต่อ)Summary: การทดลองที่ II:การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีผลกระทบต่อสมรรถภาพของไก่พื้นเมืองลูกผสมทางการค้าในช่วงอายุ 8สัปดาห์แรก โดยกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะมีน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตสะสมด้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีประสิทธิภาพการใช้อาหารสะสมด้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) อย่างไรก็ตามเมื่อมีอายุครบ 11สัปดาห์ ไก่ทดลองทั้ง 3กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโต (มีต่อ)Summary: รวมทั้งปริมาณการกินอาหารและประสิทธิภาพการใช้อาหารสะสมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยกลุ่มเปรียบเทียบจะมีสมรรถภาพและต้นทุนของอาหารผสมต่อน้ำหนักไก่ 1ก.ก. ค่อนข้างดีกว่าไก่ทดลองทุกกลุ่มตามด้วยกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะตามลำดับ แต่ไก่กลุ่มเปรียบเทียบจะมีอัตราการตายสูงที่สุดตามด้วย กลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะตามลำดับ ไก่ทดลองเปรียบเทียบจะมีอัตราการตายสูงที่สุดตามด้วย กลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะตามลำดับ ไก่ทดลองทุกกลุ่มจะมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาถึงผลการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในสูตรอาหารไก่ แบ่งออกเป็น 2การทดลองโดยการทดลองที่ 1 ใช้ไก่เนื้อลูกผสมทางการค้า และการทดลองที่2 ใช้ไก่พื้นเมืองลูกผสมทางการค้า วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design ซึ่งในแต่ละการทดลอง แบ่งออกเป็น 3กลุ่มการทดลอง คือ I:กลุ่มเปรียบเทียบซึ่งไม่ผสมยาปฏิชีวนะ II:กลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะในปริมาณ 50 ก./100 ก.ก. และ III:กลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในปริมาณ 180 ก./100 ก.ก. (มีต่อ)

ในการทดลองที่ I:การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีผลกระทบต่อน้ำหนักตัว และอัตราการเจริญเติบโตของไก่เนื้ออายุ 6สัปดาห์ โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และยังส่งผลต่อน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตของไก่เนื้ออายุ 7สัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม (p>0.05) การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรไม่มีผลกระทบต่อปริมาณการกินอาหารและประสิทธิภาพการใช้อาหารของไก่ (มีต่อ)

ยกเว้นไก่เนื้ออายุ 7สัปดาห์ ซึ่งก็มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสะสมด้อยกว่าไก่ทดลองกลุ่มอื่นเล็กน้อย (p>0.05) นอกจากนั้นกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรยังมีต้นทุนของอาหารผสมต่อน้ำหนักไก่ 1ก.ก. และอัตราการตายสูงกว่าไก่ทดลองทุกกลุ่ม ทั้งในช่วงอายุ 6สัปดาห์ และ 7สัปดาห์ โดยกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะจะมีต้นทุนของอาหารผสมต่อน้ำหนักไก่ 1ก.ก. และอัตราการตายต่ำที่สุด ไก่กลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจร จะมีเปอร์เซ็นต์ซากต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) (มีต่อ)

การทดลองที่ II:การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีผลกระทบต่อสมรรถภาพของไก่พื้นเมืองลูกผสมทางการค้าในช่วงอายุ 8สัปดาห์แรก โดยกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะมีน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตสะสมด้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีประสิทธิภาพการใช้อาหารสะสมด้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) อย่างไรก็ตามเมื่อมีอายุครบ 11สัปดาห์ ไก่ทดลองทั้ง 3กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโต (มีต่อ)

รวมทั้งปริมาณการกินอาหารและประสิทธิภาพการใช้อาหารสะสมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยกลุ่มเปรียบเทียบจะมีสมรรถภาพและต้นทุนของอาหารผสมต่อน้ำหนักไก่ 1ก.ก. ค่อนข้างดีกว่าไก่ทดลองทุกกลุ่มตามด้วยกลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะตามลำดับ แต่ไก่กลุ่มเปรียบเทียบจะมีอัตราการตายสูงที่สุดตามด้วย กลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะตามลำดับ ไก่ทดลองเปรียบเทียบจะมีอัตราการตายสูงที่สุดตามด้วย กลุ่มที่ผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกลุ่มที่ผสมยาปฏิชีวนะตามลำดับ ไก่ทดลองทุกกลุ่มจะมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)