การเจริญเติบโตและสภาวะของโคพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียนเพศผู้ที่เล็มกินหญ้าในแปลงหญ้าปรับปรุง / วันวิศาข์ งามผ่องใส ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): วันวิศาข์ งามผ่องใสCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): โค | หญ้า | SCI-TECH In: สงขลานครินทร์ วทท ปีที่21 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2542) หน้า 179 - 187Summary: การเจริญเติบโตและสภาวะของโคพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ ฟรีเชียนเพศผู้ที่เล็มกินหญ้าในแปลงหญ้าผสมซึ่งประกอบด้วยหญ้าเฮมิล(Panicum maximum cv. Hamil) หญ้าพลิแคททูลัม (Paspalum plicatulum) และหญ้าขน (Brachiaria mutica) ที่สถานีวิจัยดอนหอยโข่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา โดยใช้โคพันธุ์ผสมโฮมสไตน์ ฟรีเชียน x เรดซินดิ เพศผู้อายุ 7-9 เดือน จำนวน 8 ตัวเล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20กก./ไร่ และแปลงที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยแปลงละ 4 ตัว ในอัตรา 2.5 ไร่/ตัว ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2537 พบว่าโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักตัว รอบอก และอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.5)ค่าฮีมาโตริต (มีต่อ)Summary: (Hct) และค่าเฮโมโกลบิน (Hb) ของโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ย(25.7-,+0.48% และ 8.08-,+0.16ก./ดล.)มากกว่าค่า Hct และ Hb ของโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)นอกจากนี้ยังพบว่าค่า Hct และ Hbมีความสัมพันธุ์ในทางบวกกับน้ำหนักตัวของโค(r=0.87, P<0.01และ r=0.91, P<0.01 ตามลำดับ)ความเข้มข้นของยูเรียไนโตรเจน(Ura N) แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) แมกนีเซียม (Mg) และโพแทสเซียม (K) ในซีรัมของโคทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใส่ปุ๋ยในแปลงหญ้าทำให้ผลผลิตของหญ้าขน หญ้าเฮมิล และผลผลิตรวมในแต่ละช่วงการทดลองสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยยังมีอิทธิพลทำให้สัดส่วนของหญ้าขน (12-19%)และหญ้าเฮมิล(31-53%)มากกว่าแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย ในขณะที่สัดส่วนของหญ้าพลิแคททูลัมในแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีปริมาณถึง 61-78% นอกนี้ยังพบว่า การใส่ปุ๋ยส่งผลให้หญ้า (มีต่อ)Summary: พลิแคททูลั่มมีระดับไนโตรเจน หญ้าขนและหญ้าเฮมิลมีระดับฟอสฟอรัสสูงขึ้นอย่างมันัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) อย่างไรก็ตามระดับแร่ธาตุในระหว่างการเล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ยแลไม่ใส่ปุ๋ยมีแนวโน้มลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ระดับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในหญ้าพลิแคททูลั่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงท้ายของการเล็มกิน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยในแปลงหญ้าจะช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ของแปลงกินหญ้าทั้งในด้านการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ของสัตว์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การเจริญเติบโตและสภาวะของโคพันธุ์ผสมโฮลสไตน์ ฟรีเชียนเพศผู้ที่เล็มกินหญ้าในแปลงหญ้าผสมซึ่งประกอบด้วยหญ้าเฮมิล(Panicum maximum cv. Hamil) หญ้าพลิแคททูลัม (Paspalum plicatulum) และหญ้าขน (Brachiaria mutica) ที่สถานีวิจัยดอนหอยโข่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา โดยใช้โคพันธุ์ผสมโฮมสไตน์ ฟรีเชียน x เรดซินดิ เพศผู้อายุ 7-9 เดือน จำนวน 8 ตัวเล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20กก./ไร่ และแปลงที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยแปลงละ 4 ตัว ในอัตรา 2.5 ไร่/ตัว ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2537 พบว่าโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักตัว รอบอก และอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.5)ค่าฮีมาโตริต (มีต่อ)

(Hct) และค่าเฮโมโกลบิน (Hb) ของโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ย(25.7-,+0.48% และ 8.08-,+0.16ก./ดล.)มากกว่าค่า Hct และ Hb ของโคที่เล็มกินหญ้าในแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)นอกจากนี้ยังพบว่าค่า Hct และ Hbมีความสัมพันธุ์ในทางบวกกับน้ำหนักตัวของโค(r=0.87, P<0.01และ r=0.91, P<0.01 ตามลำดับ)ความเข้มข้นของยูเรียไนโตรเจน(Ura N) แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) แมกนีเซียม (Mg) และโพแทสเซียม (K) ในซีรัมของโคทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใส่ปุ๋ยในแปลงหญ้าทำให้ผลผลิตของหญ้าขน หญ้าเฮมิล และผลผลิตรวมในแต่ละช่วงการทดลองสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยยังมีอิทธิพลทำให้สัดส่วนของหญ้าขน (12-19%)และหญ้าเฮมิล(31-53%)มากกว่าแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย ในขณะที่สัดส่วนของหญ้าพลิแคททูลัมในแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีปริมาณถึง 61-78% นอกนี้ยังพบว่า การใส่ปุ๋ยส่งผลให้หญ้า (มีต่อ)

พลิแคททูลั่มมีระดับไนโตรเจน หญ้าขนและหญ้าเฮมิลมีระดับฟอสฟอรัสสูงขึ้นอย่างมันัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) อย่างไรก็ตามระดับแร่ธาตุในระหว่างการเล็มกินหญ้าในแปลงที่ใส่ปุ๋ยแลไม่ใส่ปุ๋ยมีแนวโน้มลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ระดับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในหญ้าพลิแคททูลั่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงท้ายของการเล็มกิน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยในแปลงหญ้าจะช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ของแปลงกินหญ้าทั้งในด้านการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ของสัตว์