การขอตั้งชื่อ-สกุล

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | นาม In: โลกใบใหม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 125 (กุมภาพันธ์ 2543) หน้า 51Summary: บุคคลที่จะขอตั้งชื่อสกุลต้องบรรลุนิติภาวะ ถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องให้มารดาหรือบิดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนโดยยื่นต่อฝ่ายทะเบียน สำนักงาน เขตท้องที่ สำหรับหลักเกณฑ์ในการขอตั้งชื่อ-สกุล นั้น ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนามเว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการีหรือผู้สืบสันดานต้องเป็นคำไม่ซ้ำกับชื่อ-สกุล พระราชทาน หรือชื่อ-สกุลที่จดทะเบียนไว้แล้ว (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้จะต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย ต้องมีพยัญชนะไม่เกิน 10พยัญชนะ เว้นแต่เป็นราชทินนามต้องมีคำแปลตามหลักภาษาไทย ในพจนานุกรมและเขียนด้วยตัวสะกดการันต์ที่ถูกต้อง รวมทั้งยังมีข้อห้ามสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานราชตระกูลใช้คำว่า "ณ อยุธยา" เป็นชื่อ-สกุล ห้ามใช้นามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธยมาใช้เป็นชื่อ-สกุล ห้ามนำศัพท์ที่เป็นพระราชทินนามของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งหรือนำมาประกอบคำศัพท์อื่นตั้งเป็นชื่อ-สกุล (มีต่อ)Summary: เช่น จักรี นฤบาล เทพ อธิป ฯลฯ ส่วนหลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการยื่นขอตั้งชื่อ-สกุล นั้นประกอบด้วย 1.บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอตั้งชื่อ-สกุล 2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านของผู้ขอตั้งชื่อ-สกุล 3.กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ให้ใช้สูติบัตรของผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดำเนินการแทน 4.ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนการรับรองบุตรในกรณีที่บิดาดำเนินการแทน โดยมีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินการเอาไว้ไม่เกิน 18วัน และต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนเงิน 50บาท (มีต่อ)Summary: ในกรณีการขอร่วมใช้ชื่อ-สกุลนั้น หากเจ้าของชื่อ-สกุล อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ชื่อ-สกุล ร่วมต้องยื่นคำขอตามแบบ ซ.5 โดยยื่นกับฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ส่วนหลักฐานที่ต้องนำมาติดต่อประกอบไปด้วยบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตั้งชื่อ-สกุล(ซ.), สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอร่วมใช้ชื่อ-สกุล กรณีไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้นและนายทะเบียนจะออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อ-สกุล นำไปเปลี่ยนแปลง ชื่อ-สกุลจากเดิม
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

บุคคลที่จะขอตั้งชื่อสกุลต้องบรรลุนิติภาวะ ถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องให้มารดาหรือบิดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนโดยยื่นต่อฝ่ายทะเบียน สำนักงาน เขตท้องที่ สำหรับหลักเกณฑ์ในการขอตั้งชื่อ-สกุล นั้น ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนามเว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการีหรือผู้สืบสันดานต้องเป็นคำไม่ซ้ำกับชื่อ-สกุล พระราชทาน หรือชื่อ-สกุลที่จดทะเบียนไว้แล้ว (มีต่อ)

นอกจากนี้จะต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย ต้องมีพยัญชนะไม่เกิน 10พยัญชนะ เว้นแต่เป็นราชทินนามต้องมีคำแปลตามหลักภาษาไทย ในพจนานุกรมและเขียนด้วยตัวสะกดการันต์ที่ถูกต้อง รวมทั้งยังมีข้อห้ามสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานราชตระกูลใช้คำว่า "ณ อยุธยา" เป็นชื่อ-สกุล ห้ามใช้นามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธยมาใช้เป็นชื่อ-สกุล ห้ามนำศัพท์ที่เป็นพระราชทินนามของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งหรือนำมาประกอบคำศัพท์อื่นตั้งเป็นชื่อ-สกุล (มีต่อ)

เช่น จักรี นฤบาล เทพ อธิป ฯลฯ ส่วนหลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการยื่นขอตั้งชื่อ-สกุล นั้นประกอบด้วย 1.บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอตั้งชื่อ-สกุล 2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านของผู้ขอตั้งชื่อ-สกุล 3.กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ให้ใช้สูติบัตรของผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดำเนินการแทน 4.ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนการรับรองบุตรในกรณีที่บิดาดำเนินการแทน โดยมีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินการเอาไว้ไม่เกิน 18วัน และต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนเงิน 50บาท (มีต่อ)

ในกรณีการขอร่วมใช้ชื่อ-สกุลนั้น หากเจ้าของชื่อ-สกุล อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ชื่อ-สกุล ร่วมต้องยื่นคำขอตามแบบ ซ.5 โดยยื่นกับฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ส่วนหลักฐานที่ต้องนำมาติดต่อประกอบไปด้วยบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตั้งชื่อ-สกุล(ซ.), สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอร่วมใช้ชื่อ-สกุล กรณีไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้นและนายทะเบียนจะออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อ-สกุล นำไปเปลี่ยนแปลง ชื่อ-สกุลจากเดิม