ฝนเทียม

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ฝนเทียม | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: เส้นทางสีเขียว ฉบับที่ 4 (มิถุนายน-กันยายน 2542) หน้า 56Summary: โดยมี ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้รับสนองพระราชดำริรับคู่มือ คำแนะนำมาศึกษาค้นคว้า แต่เนื่องจากตัดปัญหางบประมาณ การปฏิบัติการโปรยสารเคมีเพื่อทำฝนเทียมครั้งแรกจึงเริ่มได้ใน 14ปี ต่อมา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นครราชสีมา ด้วยเงินส่วนพระองค์อีกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ฝนเทียมในประเทศไทยจึงถูกเรียกว่า"ฝนหลวง" ตั้งแต่บัดนั้น การทำฝนหลวงเป็นการลงทุนค่อนข้างสูงในระยะแรก (มีต่อ)Summary: โดยนอกจากเครื่องบินสำหรับทำการโปรยสารเคมีแล้วยังมีอุปกรณ์มากมายคือ เครื่องวัดลม เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่างๆ เครื่องมือเตรียมสารเคมี ทั้งที่เป็นเครื่องบดและเครื่องผสม เครื่องมือสื่อสารไว้ติดต่อสำหรับนักบินกับภาคพื้นดิน เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล กล้องถ่ายภาพ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสูญเปล่าทุกครั้งของการปฏบัติจึงมีการตรวจสภาพอากาศ ทิศทางความเร็วลม เขตพื้นที่เป้าหมายชัดเจน (มีต่อ)Summary: เพื่อการได้ผลอย่างคุ้มค่า กรรมวิธีการทำฝนหลวงทำได้ทั้งในเมฆอุ่นและเมฆเย็นโดยใช้สารเคมี อาทิ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมออกไซด์ สารผสมระหว่างโซเดียมคลอไรด์กับยูเรีย หรือยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรต น้ำแข็งแห้งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาก้อนเมฆในแต่ละขั้นตอนตามสูตรที่คิดไว้เพื่อให้กลายเป็นฝนตามต้องการ แรกทีเดียวการปฏิบัติการฝนหลวงจะทำในฤดูการผลิตซึ่งสภาพอากาศแห้งแล้ง (มีต่อ)Summary: แต่ล่าสุดได้มีพระราชดำริให้ขยายระยะเวลาการทำเป็นช่วงก่อนฤดู ระหว่างฤดูและหลังฤดูการเพะปลูก ในพื้นที่ยุทธศาสตร์บริเวณเหนือเขื่อนต่างๆ พร้อมกันนี้ได้เพียรค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆ ที่ได้ผลมากขึ้น ด้วยการนำการทำฝนหลวงในเมฆอุ่นและเมฆเย็นผสมกันโดยใช้เครื่องบิน 3ลำ และพระราชทานชื่อเรียกว่า "ซุปเปอร์แซนด์วิซ" (Super Sandwich)Subject: ฝนหลวง หรือฝนเทียม(Royal Rain3Making) คือความหมายเดียวกันว่าเป็นฝนที่เกิดจากความพยายามของมนุษย์หาใช่จากธรรมชาติไม่ โดยใช้วิธีการดัดแปรสภาพอากาศ เน้นการทำฝนเพื่อเพิ่มปริมาณทำให้ฝนตกกระจายหากแต่เพราะฝนเทียมในประเทศไทยเกิดจากพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องการขจัดความทุกข์ร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ จึงมีพระราชดำริที่จะทำฝนเทียมมาตั้งแต่ปี 2498 (มีต่อ)
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โดยมี ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้รับสนองพระราชดำริรับคู่มือ คำแนะนำมาศึกษาค้นคว้า แต่เนื่องจากตัดปัญหางบประมาณ การปฏิบัติการโปรยสารเคมีเพื่อทำฝนเทียมครั้งแรกจึงเริ่มได้ใน 14ปี ต่อมา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นครราชสีมา ด้วยเงินส่วนพระองค์อีกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ฝนเทียมในประเทศไทยจึงถูกเรียกว่า"ฝนหลวง" ตั้งแต่บัดนั้น การทำฝนหลวงเป็นการลงทุนค่อนข้างสูงในระยะแรก (มีต่อ)

โดยนอกจากเครื่องบินสำหรับทำการโปรยสารเคมีแล้วยังมีอุปกรณ์มากมายคือ เครื่องวัดลม เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่างๆ เครื่องมือเตรียมสารเคมี ทั้งที่เป็นเครื่องบดและเครื่องผสม เครื่องมือสื่อสารไว้ติดต่อสำหรับนักบินกับภาคพื้นดิน เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล กล้องถ่ายภาพ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสูญเปล่าทุกครั้งของการปฏบัติจึงมีการตรวจสภาพอากาศ ทิศทางความเร็วลม เขตพื้นที่เป้าหมายชัดเจน (มีต่อ)

เพื่อการได้ผลอย่างคุ้มค่า กรรมวิธีการทำฝนหลวงทำได้ทั้งในเมฆอุ่นและเมฆเย็นโดยใช้สารเคมี อาทิ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมออกไซด์ สารผสมระหว่างโซเดียมคลอไรด์กับยูเรีย หรือยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรต น้ำแข็งแห้งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาก้อนเมฆในแต่ละขั้นตอนตามสูตรที่คิดไว้เพื่อให้กลายเป็นฝนตามต้องการ แรกทีเดียวการปฏิบัติการฝนหลวงจะทำในฤดูการผลิตซึ่งสภาพอากาศแห้งแล้ง (มีต่อ)

แต่ล่าสุดได้มีพระราชดำริให้ขยายระยะเวลาการทำเป็นช่วงก่อนฤดู ระหว่างฤดูและหลังฤดูการเพะปลูก ในพื้นที่ยุทธศาสตร์บริเวณเหนือเขื่อนต่างๆ พร้อมกันนี้ได้เพียรค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆ ที่ได้ผลมากขึ้น ด้วยการนำการทำฝนหลวงในเมฆอุ่นและเมฆเย็นผสมกันโดยใช้เครื่องบิน 3ลำ และพระราชทานชื่อเรียกว่า "ซุปเปอร์แซนด์วิซ" (Super Sandwich)

ฝนหลวง หรือฝนเทียม(Royal Rain3Making) คือความหมายเดียวกันว่าเป็นฝนที่เกิดจากความพยายามของมนุษย์หาใช่จากธรรมชาติไม่ โดยใช้วิธีการดัดแปรสภาพอากาศ เน้นการทำฝนเพื่อเพิ่มปริมาณทำให้ฝนตกกระจายหากแต่เพราะฝนเทียมในประเทศไทยเกิดจากพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องการขจัดความทุกข์ร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ จึงมีพระราชดำริที่จะทำฝนเทียมมาตั้งแต่ปี 2498 (มีต่อ)