ปัญหาสารพิษตกค้างในผักแค่การตรวจจับแก้ไม่ได้ / ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์

By: ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ผักปลอดสารพิษ In: โลกสีเขียว ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2542) หน้า 12 - 13Summary: ปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักเป็นเรื่องที่ยืดเยื้อมานาน แม้แต่คณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค ก็ไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ จนกระทั่งล่าสุดกรุงเทพฯ ได้เริ่มโครงการล้อมรั้วกรุงเทพฯ "ให้ปลอดภัยจากสารพิษ" ขึ้น โดยกรุงเทพมหานครจะทำงานประสานกับ อย.ตั้งจุดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผักสด ณ ตลาดค้าส่งที่สำคัญ 4แห่งคือ ตลาดมหานาค ปากคลองตลาด ตลาดบางแค และตลาดอรุณรถไฟบางกอกน้อย (มีต่อ)Summary: เพื่อสุ่มตรวจผักจากรถบรรทุกที่เข้ามาส่งผักยังตลาด 4แห่งนี้ ด้วยชุดตรวจ GT-Reagent Test kit หากตรวจพบว่ามีสารพิษตกค้างในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งให้เจ้าของผักหรือคนขับรถคันนั้นทราบ เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้นำผักดังกล่าวลงตลาดและให้ขนย้ายออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร ในกรณีผู้ค้าส่งยังต้องการที่จะนำผักดังกล่าวลงตลาด เจ้าหน้าที่ก็จะให้ลงนามในหนังสือเป็นหลักฐานและเก็บตัวอย่างส่งไปตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด (มีต่อ)Summary: หากพบว่ามีปริมาณสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็จะดำเนินคดีกับเจ้าของผักหรือผู้ค้าดังกล่าว ซึ่งจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา25 (1) ที่ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตนำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายซึ่ง "อาหารไม่บริสุทธิ์" โดยจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี ปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งจะให้ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตที่ตลาดตั้งอยู่ดำเนินการสอบหาที่มาของผัก เมื่อทราบว่ามาจากแหล่งใด จะทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังสาธารณสุขจังหวัดให้ดำเนินการกวดขัน ตรวจสอบผักในตลาดก่อนส่งเข้ามาในเขตกรุงเทพมหานคร
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักเป็นเรื่องที่ยืดเยื้อมานาน แม้แต่คณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค ก็ไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ จนกระทั่งล่าสุดกรุงเทพฯ ได้เริ่มโครงการล้อมรั้วกรุงเทพฯ "ให้ปลอดภัยจากสารพิษ" ขึ้น โดยกรุงเทพมหานครจะทำงานประสานกับ อย.ตั้งจุดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผักสด ณ ตลาดค้าส่งที่สำคัญ 4แห่งคือ ตลาดมหานาค ปากคลองตลาด ตลาดบางแค และตลาดอรุณรถไฟบางกอกน้อย (มีต่อ)

เพื่อสุ่มตรวจผักจากรถบรรทุกที่เข้ามาส่งผักยังตลาด 4แห่งนี้ ด้วยชุดตรวจ GT-Reagent Test kit หากตรวจพบว่ามีสารพิษตกค้างในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งให้เจ้าของผักหรือคนขับรถคันนั้นทราบ เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้นำผักดังกล่าวลงตลาดและให้ขนย้ายออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร ในกรณีผู้ค้าส่งยังต้องการที่จะนำผักดังกล่าวลงตลาด เจ้าหน้าที่ก็จะให้ลงนามในหนังสือเป็นหลักฐานและเก็บตัวอย่างส่งไปตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด (มีต่อ)

หากพบว่ามีปริมาณสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็จะดำเนินคดีกับเจ้าของผักหรือผู้ค้าดังกล่าว ซึ่งจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา25 (1) ที่ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตนำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายซึ่ง "อาหารไม่บริสุทธิ์" โดยจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี ปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งจะให้ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตที่ตลาดตั้งอยู่ดำเนินการสอบหาที่มาของผัก เมื่อทราบว่ามาจากแหล่งใด จะทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังสาธารณสุขจังหวัดให้ดำเนินการกวดขัน ตรวจสอบผักในตลาดก่อนส่งเข้ามาในเขตกรุงเทพมหานคร