ประสบการณ์จัดการเรียนร่วม "เด็กปกติ-เด็กพิเศษ" ใน ร.ร.ราชวินิต มัธยม

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): เด็กพิการ -- การศึกษา -- ไทย | เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ -- การศึกษาและการสอน -- ไทย | เด็กพิเศษ -- การศึกษาและการสอน -- ไทย In: สานปฏิรูป ปีที่ 3 ฉบับที่ 35 (กุมภาพันธ์ 2544) หน้า 32 - 35Summary: ในปี 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาจึงได้เปิดกว้างรับเด็กพิเศษเข้ามาเรียนร่วมกับเด็กปกติ โอกาสของเด็กพิเศษจึงได้เปิดกว้างอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้นมา อย่างไรก็ตาม นโยบายเรียนร่วมดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องใหม่สำหรับโรงเรียนราชวินิตฯ เพราะสถานศึกษาแห่งนี้ได้เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติก่อนที่กระทรวงศึกษาจะกำหนดเป็นนโยบาย (มีต่อ)Summary: และพยายามพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กกลุ่มนี้เรื่อยมา จนถึงปัจจุบันเด็กออทิสติกเรียนอยู่ชั้นมัธยม6 เด็กพิการทางแขนเรียนอยู่ชั้นมัธยม5 และเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ (Learning Disabillity หรือ แอลดี) เรียนอยู่ในชั้นมัธยม3 เป็นต้น รวมจำนวนเด็กพิเศษทั้งหมด 14คน เมื่อครูทั้งหมดรับทราบนโยบายของโรงเรียน ทุกคนช่วยเหลือกันดีมาก บางวิชาที่เด็กพิเศษเรียนกับเด็กปกติไม่ได้ ครูก็จะจัดแบบเรียนและแบบฝึกหัดพิเศษให้และยังใช้เกณฑ์ประเมินผลเด็กพิเศษต่างไปจากเด็กปกติ (มีต่อ)Summary: ทำให้พัฒนาการของเด็กพิเศษในโรงเรียนก้าวหน้าไปเร็วมาก "คมสิทธิ์" เป็นเด็กที่ ร.ร.ราชวินิตมัธยมมีความภูมิใจ เพราะเป็นการพัฒนาของเด็กแอลดี ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จในโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล อาจารย์ประนอมผู้ดูแลเรื่องพัฒนาการของคมสิทธิ์ พยายามฝึกฝนให้เขาอ่านและเขียนมาตราสะกดและเมื่อเกิดโครงการเรียนร่วมขึ้น จึงได้จัดโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลให้แก่คมสิทธิ์ จนปัจจุบันคมสิทธิ์ทำอะไรได้หลายอย่าง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในปี 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาจึงได้เปิดกว้างรับเด็กพิเศษเข้ามาเรียนร่วมกับเด็กปกติ โอกาสของเด็กพิเศษจึงได้เปิดกว้างอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้นมา อย่างไรก็ตาม นโยบายเรียนร่วมดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องใหม่สำหรับโรงเรียนราชวินิตฯ เพราะสถานศึกษาแห่งนี้ได้เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติก่อนที่กระทรวงศึกษาจะกำหนดเป็นนโยบาย (มีต่อ)

และพยายามพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กกลุ่มนี้เรื่อยมา จนถึงปัจจุบันเด็กออทิสติกเรียนอยู่ชั้นมัธยม6 เด็กพิการทางแขนเรียนอยู่ชั้นมัธยม5 และเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ (Learning Disabillity หรือ แอลดี) เรียนอยู่ในชั้นมัธยม3 เป็นต้น รวมจำนวนเด็กพิเศษทั้งหมด 14คน เมื่อครูทั้งหมดรับทราบนโยบายของโรงเรียน ทุกคนช่วยเหลือกันดีมาก บางวิชาที่เด็กพิเศษเรียนกับเด็กปกติไม่ได้ ครูก็จะจัดแบบเรียนและแบบฝึกหัดพิเศษให้และยังใช้เกณฑ์ประเมินผลเด็กพิเศษต่างไปจากเด็กปกติ (มีต่อ)

ทำให้พัฒนาการของเด็กพิเศษในโรงเรียนก้าวหน้าไปเร็วมาก "คมสิทธิ์" เป็นเด็กที่ ร.ร.ราชวินิตมัธยมมีความภูมิใจ เพราะเป็นการพัฒนาของเด็กแอลดี ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จในโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล อาจารย์ประนอมผู้ดูแลเรื่องพัฒนาการของคมสิทธิ์ พยายามฝึกฝนให้เขาอ่านและเขียนมาตราสะกดและเมื่อเกิดโครงการเรียนร่วมขึ้น จึงได้จัดโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลให้แก่คมสิทธิ์ จนปัจจุบันคมสิทธิ์ทำอะไรได้หลายอย่าง