เสียงรบกวน ศัตรูหมายเลขหนึ่งของสัตว์ทะเล / มาร์ลีย์

By: มาร์ลีย์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เสียง | มลพิษทางเสียง In: โลกสีเขียว ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 (กันยายน-ตุลาคม 2542) หน้า 6Summary: เรารู้กันมานานแล้วว่าเสียงมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์และสภาพสัตว์ ไม่เว้นแม้กระทั่งสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเล ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบว่า เสียงรบกวนอาจจะมีผลให้สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลเปลี่ยนแปลงเส้นทางการอพยพและพื้นที่การขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร โรเจอร์ เจนทรีย์ ผู้ประสานงานของทีม (มีต่อ)Summary: ป้องกันเสียงสะท้อนแห่งศูนย์บริการประมงทางทะเลแห่งชาติ ซึ่งดูแลสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดในน่านน้ำสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงสะท้อน ทหาร นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ได้สรุปประเด็นเอาไว้ว่าผลกระทบของเสียงรบกวนในมหาสมุทรก็คล้ายๆ กับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นบรรดาแท่งตึกและ (มีต่อ)Summary: สายไฟฟ้าบนแผ่นดินที่แห้งแล้ง สถานที่ 3แห่งที่คณะวิจัยได้ทำการศึกษาคือ เกาะแชนเน็ล อ่าวมันเทอเรย์ และอ่าวซานดิเอโก้ล้วนเป็นสถานที่ที่มีระดับเสียงรบกวนใต้น้ำอยู่ในระดับสูงทั้งสิ้น ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยสัตว์ทะเล ด้วยเหตุนี้ นักสิ่งแวดล้อมจึงกำลังเรียกร้องให้ใช้มาตรการพิเศษเพื่อลดเสียงรบกวนใน (มีต่อ)Summary: บริเวณนั้น อย่างไรก็ดี คลาร์กและเจนทรีย์ยอมรับว่าผลการวิจัยฉบับนี้ยังใหม่เกินไปที่จะสรุปเจาะจงลงไปว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ว่าจะเป็น (มีต่อ)Summary: อันตรายต่อจำนวนประชากรของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในท้องทะเลหรือไม่ในระยะยาว แต่นั่นคงไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่จะไม่หาทางลดเสียงรบกวนให้น้อยลง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เรารู้กันมานานแล้วว่าเสียงมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์และสภาพสัตว์ ไม่เว้นแม้กระทั่งสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเล ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบว่า เสียงรบกวนอาจจะมีผลให้สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลเปลี่ยนแปลงเส้นทางการอพยพและพื้นที่การขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร โรเจอร์ เจนทรีย์ ผู้ประสานงานของทีม (มีต่อ)

ป้องกันเสียงสะท้อนแห่งศูนย์บริการประมงทางทะเลแห่งชาติ ซึ่งดูแลสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดในน่านน้ำสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงสะท้อน ทหาร นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ได้สรุปประเด็นเอาไว้ว่าผลกระทบของเสียงรบกวนในมหาสมุทรก็คล้ายๆ กับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นบรรดาแท่งตึกและ (มีต่อ)

สายไฟฟ้าบนแผ่นดินที่แห้งแล้ง สถานที่ 3แห่งที่คณะวิจัยได้ทำการศึกษาคือ เกาะแชนเน็ล อ่าวมันเทอเรย์ และอ่าวซานดิเอโก้ล้วนเป็นสถานที่ที่มีระดับเสียงรบกวนใต้น้ำอยู่ในระดับสูงทั้งสิ้น ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยสัตว์ทะเล ด้วยเหตุนี้ นักสิ่งแวดล้อมจึงกำลังเรียกร้องให้ใช้มาตรการพิเศษเพื่อลดเสียงรบกวนใน (มีต่อ)

บริเวณนั้น อย่างไรก็ดี คลาร์กและเจนทรีย์ยอมรับว่าผลการวิจัยฉบับนี้ยังใหม่เกินไปที่จะสรุปเจาะจงลงไปว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ว่าจะเป็น (มีต่อ)

อันตรายต่อจำนวนประชากรของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในท้องทะเลหรือไม่ในระยะยาว แต่นั่นคงไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่จะไม่หาทางลดเสียงรบกวนให้น้อยลง