การตรวจหาอิมมูนูโกลบูอิน อี ของผู้ป่วยภูมิแพ้และผู้บริจาคโลหิตที่ทำปฏิกิริยาได้กับโปรตีนในน้ำยางธรรมชาติ / กิติพงษ์ หาญเจริญ, จริยา บุญญวัฒน์

By: กิติพงษ์ หาญเจริญContributor(s): จริยา บุญญวัฒน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อิมมูโนโกลบูอิน อี | ภูมิแพ้ In: วิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2543) หน้า 27-39Summary: การแพ้โปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติมีรายงานออกมาอย่างมากมายในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก เพื่อให้เกิดการตื่นตัวและระมัดระวังในความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้โปรตีนจากยางธรรมชาติในหมู่คนไทย การทดลองนี้ได้เปรียบเทียบปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีชนิดอี ในซีรัม (มีต่อ)Summary: ของผู้ป่วยภูมิแพ้เด็กและผู้ใหญ่ กลุ่มละ 100ราย เปรียบเทียบกับผู้บริจาคโลหิตจำนวน 352ราย โดยใช้วิธี enzyme allergosorbent test (EAST) พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ 200ราย มีซีรัมที่ให้ผลบวก EAST กับโปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติรวม 22ราย หรือ ร้อยละ11 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มผู้บริจาคโลหิต ซึ่งมีเพียงร้อยละ4.5 (16ใน352ราย) (มีต่อ)Summary: อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อคำนวณอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยภูมิแพ้พบว่าสูงกว่าผู้บริจาคโลหิตถึง 2.6เท่า (p < 0.05) การศึกษา immunoblot ยืนยันว่ามีโปรตีนอย่างน้อย 6ชนิด ที่ทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีชนิดอี ในซีรัมได้ ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ พบแอนติบอดีชนิดอีต่อโปรตีนขนาด 33 KD ได้บ่อยที่สุด (12จาก22ราย หรือ (มีต่อ)Summary: ร้อยละ54) รองลงมาคือ 22.5 KD (พบ7ใน22ราย หรือร้อยละ43) ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตพบแอนติบอดีต่อโปรตีนขนาด 25.5 KD บ่อยที่สุด พบแอนติบอดีชนิดอี ต่อโปรตีนขนาด 30 KD เป็นอันดับสอง (7ใน16ราย หรือร้อยละ44 และ5ใน16ราย หรือร้อยละ31ตามลำดับ) จะเห็นว่าแอนติบอดีที่พบเป็นชนิดอี ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะก่อให้เกิด (มีต่อ)Summary: อาการแพ้อย่างรุนแรงได้ เมื่อสัมผัสหรือได้รับโปรตีนเข้าไปโดยไม่ตั้งใจในคนไทยกลุ่มนี้ ในต่างประเทศมีรายงานว่าโปรตีนขนาด 14.6 และ 27 KD เป็นตัวก่อให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อย ซึ่งต่างจากการทดลองนี้ (มีต่อ)Summary: ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้คงช่วยกระตุ้นเตือนให้เกิดการดูแลควบคุมโปรตีนเหล่านี้ในกระบวนการควบคุมคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรม
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การแพ้โปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติมีรายงานออกมาอย่างมากมายในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก เพื่อให้เกิดการตื่นตัวและระมัดระวังในความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้โปรตีนจากยางธรรมชาติในหมู่คนไทย การทดลองนี้ได้เปรียบเทียบปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีชนิดอี ในซีรัม (มีต่อ)

ของผู้ป่วยภูมิแพ้เด็กและผู้ใหญ่ กลุ่มละ 100ราย เปรียบเทียบกับผู้บริจาคโลหิตจำนวน 352ราย โดยใช้วิธี enzyme allergosorbent test (EAST) พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ 200ราย มีซีรัมที่ให้ผลบวก EAST กับโปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติรวม 22ราย หรือ ร้อยละ11 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มผู้บริจาคโลหิต ซึ่งมีเพียงร้อยละ4.5 (16ใน352ราย) (มีต่อ)

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อคำนวณอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยภูมิแพ้พบว่าสูงกว่าผู้บริจาคโลหิตถึง 2.6เท่า (p < 0.05) การศึกษา immunoblot ยืนยันว่ามีโปรตีนอย่างน้อย 6ชนิด ที่ทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีชนิดอี ในซีรัมได้ ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ พบแอนติบอดีชนิดอีต่อโปรตีนขนาด 33 KD ได้บ่อยที่สุด (12จาก22ราย หรือ (มีต่อ)

ร้อยละ54) รองลงมาคือ 22.5 KD (พบ7ใน22ราย หรือร้อยละ43) ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตพบแอนติบอดีต่อโปรตีนขนาด 25.5 KD บ่อยที่สุด พบแอนติบอดีชนิดอี ต่อโปรตีนขนาด 30 KD เป็นอันดับสอง (7ใน16ราย หรือร้อยละ44 และ5ใน16ราย หรือร้อยละ31ตามลำดับ) จะเห็นว่าแอนติบอดีที่พบเป็นชนิดอี ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะก่อให้เกิด (มีต่อ)

อาการแพ้อย่างรุนแรงได้ เมื่อสัมผัสหรือได้รับโปรตีนเข้าไปโดยไม่ตั้งใจในคนไทยกลุ่มนี้ ในต่างประเทศมีรายงานว่าโปรตีนขนาด 14.6 และ 27 KD เป็นตัวก่อให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อย ซึ่งต่างจากการทดลองนี้ (มีต่อ)

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้คงช่วยกระตุ้นเตือนให้เกิดการดูแลควบคุมโปรตีนเหล่านี้ในกระบวนการควบคุมคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรม