ทรงเรียกคืนวิถีชีวิตชาวปากพนัง / ชาติบุตร บุณยะจิตติ

By: ชาติบุตร บุณยะจิตติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 119 (สิงหาคม 2542) หน้า 8 - 11Summary: พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีสภาพปัญหาหลายอย่างและปัญหาที่สำคัญในเวลานี้ก็คือ อิทธิพลของน้ำทะเลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำปากพนังโดยประมาณ 6-7 เดือน หรือเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100กิโลเมตร ทำให้พื้นที่ต่างๆ ได้รับอิทธิพลน้ำกร่อยกระจายไปทั่ว ทำให้ไม่มีน้ำจืดใช้ในหน้าแล้ง พื้นดินก็กลายเป็นดินเค็ม มีความกร่อยทำการเกษตรไม่ได้ผล ช่วงฤดูฝน ฝนตกชุกทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบปัญหานี้ (มีต่อ)Summary: พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ทางกรมชลประทานดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำปิดแม่น้ำปากพนังเป็นอันดับแรก การดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำแบ่งเป็นงานหลักได้ 2ส่วน คือ งานก่อสร้างระบบชลประทานและงานด้านพัฒนาการเกษตรและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างระบบชลประทาน แบ่งออกเป็น 4กิจกรรม ดังนี้คือ งานก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังและอาคารประกอบ งานก่อสร้างระบบระบายน้ำ การก่อสร้างคันแบ่งเขตน้ำจืด - น้ำเค็ม และงานก่อสร้างระบบส่งน้ำ (มีต่อ)Summary: ผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อโครงการเสร็จสิ้น คือ สามารถป้องกันน้ำเค็มไม่ให้รุกล้ำเข้ามาในแม่น้ำปากพนัง บรรเทาอุทกภัย สามารถเก็บกักน้ำจืดในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาได้ประมาณ 72ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งใช้สำหรับอุปโภค - บริโภคและการเกษตรของราษฎร 2ริมน้ำตลอดปี ลดปัญหาการเกิดน้ำเปรี้ยว สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรประมาณ 521,000ไร่ ลดปัญหาการขัดแย้งในการประกอบอาชีพนากุ้งนาข้าว และประการสุดท้ายคือ เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นแหล่งท่องเที่ยว (มีต่อ)Summary: จากโครงการพระราชดำริขององค์ในหลวงนี้จะทำให้วิถีชาวนาของชาวบ้านปากพนังกำลังจะค่อยๆ ฟื้นขึ้นมาเรื่อยๆ ภาพแห่งความรุ่งเรืองและความมั่งมีจะเริ่มชัดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และจะเป็นภาพที่สมบูรณ์อีกครั้งภายในปี 2546
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีสภาพปัญหาหลายอย่างและปัญหาที่สำคัญในเวลานี้ก็คือ อิทธิพลของน้ำทะเลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำปากพนังโดยประมาณ 6-7 เดือน หรือเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100กิโลเมตร ทำให้พื้นที่ต่างๆ ได้รับอิทธิพลน้ำกร่อยกระจายไปทั่ว ทำให้ไม่มีน้ำจืดใช้ในหน้าแล้ง พื้นดินก็กลายเป็นดินเค็ม มีความกร่อยทำการเกษตรไม่ได้ผล ช่วงฤดูฝน ฝนตกชุกทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบปัญหานี้ (มีต่อ)

พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ทางกรมชลประทานดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำปิดแม่น้ำปากพนังเป็นอันดับแรก การดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำแบ่งเป็นงานหลักได้ 2ส่วน คือ งานก่อสร้างระบบชลประทานและงานด้านพัฒนาการเกษตรและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างระบบชลประทาน แบ่งออกเป็น 4กิจกรรม ดังนี้คือ งานก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังและอาคารประกอบ งานก่อสร้างระบบระบายน้ำ การก่อสร้างคันแบ่งเขตน้ำจืด - น้ำเค็ม และงานก่อสร้างระบบส่งน้ำ (มีต่อ)

ผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อโครงการเสร็จสิ้น คือ สามารถป้องกันน้ำเค็มไม่ให้รุกล้ำเข้ามาในแม่น้ำปากพนัง บรรเทาอุทกภัย สามารถเก็บกักน้ำจืดในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาได้ประมาณ 72ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งใช้สำหรับอุปโภค - บริโภคและการเกษตรของราษฎร 2ริมน้ำตลอดปี ลดปัญหาการเกิดน้ำเปรี้ยว สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรประมาณ 521,000ไร่ ลดปัญหาการขัดแย้งในการประกอบอาชีพนากุ้งนาข้าว และประการสุดท้ายคือ เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นแหล่งท่องเที่ยว (มีต่อ)

จากโครงการพระราชดำริขององค์ในหลวงนี้จะทำให้วิถีชาวนาของชาวบ้านปากพนังกำลังจะค่อยๆ ฟื้นขึ้นมาเรื่อยๆ ภาพแห่งความรุ่งเรืองและความมั่งมีจะเริ่มชัดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และจะเป็นภาพที่สมบูรณ์อีกครั้งภายในปี 2546