องค์ประกอบทางเคมีของผลิตผลพลอยได้จากการฟักไข่นกกระจอกเทศ / อนุชา แสงโสภณ, วิชัย ศุภลักษณ์, ณหทัย วิจิตโรทัย

By: อนุชา แสงโสภณContributor(s): วิชัย ศุภลักษณ์ | ณหทัย วิจิตโรทัยCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | นกกระจอกเทศ -- วิจัย In: พระจอมเกล้าลาดกระบัง ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (เมษายน 2543) หน้า 21-25Summary: การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของผลิตผลพลอยได้จากการฟักไข่นกกระจอกเทศได้แก่ ไข่ลมบด ไข่เชื้อตายบด ลูกนกบดและเปลือกไข่บด ซึ่งผ่านกระบวนการให้ความร้อนด้วยวิธีการอบที่อุณหภูมิ 100องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1ชั่วโมงและวิธีการนึ่งความดันที่ 15psi. เป็นเวลา 45นาที ปรากฎว่า กระบวนการให้ความร้อนที่ใช้ไม่มีผล (มีต่อ)Summary: บ่งชัดต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ โดยองค์ประกอบต่างๆ ทางเคมีจะผันแปรตามชนิดของตัวอย่าง ยกเว้นในเรื่องของปริมาณความชื้นและไนโตรเจนฟรีเอ็กแทร็ก ซึ่งวิธีการอบทำให้มีปริมาณความชื้นในตัวอย่างของไข่ลมบด, ลูกนกบด และเปลือกไข่บดสูงกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.01) แต่วิธี (มีต่อ)Summary: การอบจะทำให้ตัวอย่างทุกชนิดมีปริมาณไนโตรเจนฟรีเอ็กแทร็กต่ำกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.05) วิธีการอบทำให้ไข่ลมบดมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.01) แต่จะมีปริมาณไขมันและค่าพลังงานทั้งหมดต่ำกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.01) อย่างไรก็ตามวิธีการอบทำให้ไข่เชื้อตายบด มีปริมาณโปรตีนและค่า (มีต่อ)Summary: พลังงานทั้งหมดสูงกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.05 และ p<0.01) แต่วิธีการอบจะทำให้ลูกนกบดมีปริมาณโปรตีนและไขมัน (p<0.05) รวมทั้งค่าของพลังงานทั้งหมด (p<0.01) ต่ำกว่าวิธีการนึ่งความดัน ไข่ลมบด, ไข่เชื้อตายบด และลูกนกบดเป็นผลิตผลพลอยได้ที่มีคุณค่าทางโปรตีนและพลังงานสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ (มีต่อ)Summary: โดยมีค่าเฉลี่ยของโปรตีน21.97%, 22.83% และ45.79% ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยของพลังงานทั้งหมด 5.84, 6.15 กิโลแคลอรี่/กรัม ตามลำดับ เปลือกไข่บดมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเถ้าเฉลี่ย87.22% และประกอบด้วยแคลเซียมเฉลี่ย41.34%
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของผลิตผลพลอยได้จากการฟักไข่นกกระจอกเทศได้แก่ ไข่ลมบด ไข่เชื้อตายบด ลูกนกบดและเปลือกไข่บด ซึ่งผ่านกระบวนการให้ความร้อนด้วยวิธีการอบที่อุณหภูมิ 100องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1ชั่วโมงและวิธีการนึ่งความดันที่ 15psi. เป็นเวลา 45นาที ปรากฎว่า กระบวนการให้ความร้อนที่ใช้ไม่มีผล (มีต่อ)

บ่งชัดต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ โดยองค์ประกอบต่างๆ ทางเคมีจะผันแปรตามชนิดของตัวอย่าง ยกเว้นในเรื่องของปริมาณความชื้นและไนโตรเจนฟรีเอ็กแทร็ก ซึ่งวิธีการอบทำให้มีปริมาณความชื้นในตัวอย่างของไข่ลมบด, ลูกนกบด และเปลือกไข่บดสูงกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.01) แต่วิธี (มีต่อ)

การอบจะทำให้ตัวอย่างทุกชนิดมีปริมาณไนโตรเจนฟรีเอ็กแทร็กต่ำกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.05) วิธีการอบทำให้ไข่ลมบดมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.01) แต่จะมีปริมาณไขมันและค่าพลังงานทั้งหมดต่ำกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.01) อย่างไรก็ตามวิธีการอบทำให้ไข่เชื้อตายบด มีปริมาณโปรตีนและค่า (มีต่อ)

พลังงานทั้งหมดสูงกว่าวิธีการนึ่งความดัน (p<0.05 และ p<0.01) แต่วิธีการอบจะทำให้ลูกนกบดมีปริมาณโปรตีนและไขมัน (p<0.05) รวมทั้งค่าของพลังงานทั้งหมด (p<0.01) ต่ำกว่าวิธีการนึ่งความดัน ไข่ลมบด, ไข่เชื้อตายบด และลูกนกบดเป็นผลิตผลพลอยได้ที่มีคุณค่าทางโปรตีนและพลังงานสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ (มีต่อ)

โดยมีค่าเฉลี่ยของโปรตีน21.97%, 22.83% และ45.79% ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยของพลังงานทั้งหมด 5.84, 6.15 กิโลแคลอรี่/กรัม ตามลำดับ เปลือกไข่บดมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเถ้าเฉลี่ย87.22% และประกอบด้วยแคลเซียมเฉลี่ย41.34%