การพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย สัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน เกิดประโยชน์สูงสุด / ชาติบุตร บุณยะจิตติ

By: ชาติบุตร บุณยะจิตติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 123 (ธันวาคม 2542) หน้า 42 - 44Summary: ปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้นคือ น้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำหรือที่เรียกว่า Check Dam ประเภทของ Check Dam แบ่งเป็น 2ประเภท ประเภทแรกคือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ประเภทที่ 2 คือ ฝายดักตะกอน Check Dam ตามแนวพระราชดำริ สามารถกระทำได้ 3รูปแบบ ประการแรก แบบท้องถิ่นเบื้องต้น ก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้และท่อนไม้ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ (มีต่อ)Summary: ในลำห้วยซึ่งสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี แบบที่สองคือ แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร สร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน แบบที่สามคือ แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป้นการสร้างแบบถาวร จะทำให้บริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี (มีต่อ)Summary: ประโยชน์ของ Check Dam อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบด้วย 1.ช่วยลดการพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นกระจายออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย 2.ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้า 3.เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ และประการสุดท้ายคือ การเก็บกักน้ำได้บางส่วนก่อให้เกิดเป้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสามารถนำมาบริโภคได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้นคือ น้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำหรือที่เรียกว่า Check Dam ประเภทของ Check Dam แบ่งเป็น 2ประเภท ประเภทแรกคือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ประเภทที่ 2 คือ ฝายดักตะกอน Check Dam ตามแนวพระราชดำริ สามารถกระทำได้ 3รูปแบบ ประการแรก แบบท้องถิ่นเบื้องต้น ก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้และท่อนไม้ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ (มีต่อ)

ในลำห้วยซึ่งสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี แบบที่สองคือ แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร สร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน แบบที่สามคือ แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป้นการสร้างแบบถาวร จะทำให้บริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี (มีต่อ)

ประโยชน์ของ Check Dam อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบด้วย 1.ช่วยลดการพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นกระจายออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย 2.ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้า 3.เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ และประการสุดท้ายคือ การเก็บกักน้ำได้บางส่วนก่อให้เกิดเป้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสามารถนำมาบริโภคได้