อรรถ นันทจักร์.

ยาตราแม่น้ำมูล สืบค้นต้นธาร / อรรถ นันทจักร์

แถบที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำสายหลักที่คอยหล่อเลี้ยงแผ่นดินอีสาน คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ถึงแม้ปัจจุบันแม่น้ำโขงจะกลายเป็นแม่น้ำนานาชาติไปแล้วก็ตาม แต่บริเวณตอนในของภาคอีสานก็ยังมีแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี คอยทำหน้าที่อันสำคัญยิ่งให้กับกลุ่มคนที่อยู่อาศัยบรแผ่นดินผืนนี้ ลำน้ำมูล ถือกำเนิดจากจังหวัดนครราชสีมา ผ่านตอนเหนือของบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยไหลไปบรรจบกับลำน้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (มีต่อ) นอกจากนั้นยังมีสาขาของลำน้ำมูล ซึ่งได้แก่ ลำตะคอง ลำเชียงไกร ลำชี ลำจักราช ลำปลายมาศ ลำสะแทด ลำพังซู ลำเสียงใหญ่ ลำโดมน้อย ห้วยสำราญ ลำเซบก ห้วยทับทัน เป็นต้น หากพิจารณาโดยภาพรวมของลำน้ำมูลแล้ว นอกจากเป็นเสมือนสายเลือดใหญ่ให้กับแผ่นดินอีสานแล้ว แม่น้ำสาขายังเป็นเส้นเลือดฝอยที่แตกแขนง คอยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย ในปัจจุบันแม่น้ำมูลกับภาคอีสานก็ยังเกื้อกูลกันมาโดยตลอด แต่กรอบของการเกื้อกูลจะขาดเยื่อใยต่อกันอย่างเห็นได้ชัด (มีต่อ) ทั้งนี้เพราะในสภาพปัจจุบันองค์กรต่างๆ พยายามจะเอาประโยชน์จากลำน้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่หน่วยงานที่จะทำหน้าที่คืนชีวิตให้ลำน้ำไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก จะเห็นได้จากลำน้ำมูลที่ทอดยาวจากโคราชถึงอุบลราชธานี มีหน่วยงานของรัฐมากกว่า 16 หน่วยที่ทำหน้าที่ในการดึงเอาประโยชน์จากลำน้ำมูล ปัญหาอีกประเด็นหนึ่งที่น่าเป็นห่วงจากการที่มนุษย์พยายามที่จะดัดแปลงและปรับปรุงลำน้ำให้เป็นไปตามที่ใจมนุษย์ปรารถนา คือ (มีต่อ) ปัญหาความเค็มของดิน หากดูโดยภาพรวมจะพบว่าปัญหาดังกล่าวได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากดินเค็มแล้ว สิ่งที่น่าจะเอาใจใส่อีกประการหนึ่งคือ การมีสารปราบศัตรูพืช ทั้งนี้เพราะขณะนี้สองฝั่งของลำน้ำมูลได้ถูกขยายเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ดังนั้นเมื่อมาถึงวันนี้ วันที่แม่น้ำกำลังขาดความสมดุลทั้งทางด้านกายภาพ และชีวภาพ และแทบจะไม่มีเวลาเสียด้วยซ้ำในการที่จะตั้งคำถามทบทวนวิธีคิดของมนุษย์ แต่สิ่งสำคัญเร่งด่วน คือ น่าจะคืนธรรมชาติให้กับลำน้ำ ถึงวันนี้คงจะเป็นบทบาทและภาระของทุกคนในการที่จะมาช่วยรักษาสายเลือดทุกสายเลือดบนแผ่นดินให้มีอายุที่ยืนยาวสืบไป


SCI-TECH.
นิเวศวิทยาน้ำ.
การอนุรักษ์น้ำ.
แม่น้ำมูล.