ป้องกันภัยขณะก่อสร้างใกล้สายไฟ

การป้องกันอันตราย ที่จะเกิดจากไฟฟ้า ไม่ใช่ความรับผิดชอบ ของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็น ความรับผิดชอบ ของทุกคน ในสังคม ที่จะช่วยกัน ดูแลป้องกัน อันตรายต่างๆ ที่อาจจะ เกิดขึ้นได้ ทุกครั้งที่ใช้ไฟฟ้า (มีต่อ) หรือมีกิจกรรม ใกล้สายไฟฟ้า พึงตระหนัก อยู่เสมอว่า อันตราย อาจเกิดได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงมีคำเตือน สำหรับผู้ที่ ต้องปฏิบัติ งาน ใกล้สายไฟฟ้า ให้ใช้ความระมัดระวัง เป็นพิเศษ เพราะนอกจาก จะเกิดความเสียหาย (มีต่อ) หรือเกิดอันตรายขึ้น กับตัวเองแล้ว ยังอาจสร้าง ความเสียหาย ให้กับส่วรวมอีกด้วย การไฟฟ้านครหลวง ได้กำหนด มาตรฐาน การก่อสร้าง ไว้เพื่อความปลอดภัย ของประชาชนทั่วไป คือ การเดินสายไฟฟ้า มี 2ระบบ คือ (มีต่อ) พาดผ่านสายไฟฟ้า และ ระบบสายใต้ดิน ชนิดของสายไฟฟ้า ที่ใช้งานแรงดัน ตั้งแต่ 12,000 -24,000 โวลต์ จะเป็นสายเปลือย, สายหุ้มฉนวนบางส่วน (APC), สาย SPACED AERIAL CABLE, สายหุ้มฉนวน, แรงดันไฟฟ้า (มีต่อ) ตั้งแต่ 69,000-115,000 โวลต์ สายไฟ เป็นสายเปลือยทั้งหมด ยกเว้นสายดิน เสาไฟฟ้าที่ใช้ ได้กำหนด ความยาว ไว้ตั้งแต่ 6 เมตร จนถึง 22 เมตร ตามลักษณะ แรงดันของ กระแสไฟฟ้า


สายไฟฟ้า--การป้องกัน.
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง.
SCI-TECH.