TY - SER AU - วัชรา ชุณหวงศ์. AU - อรชุน กองกาญจนะ. TI - การบริหารแมลงศัตรูข้าวโพดหวานในแหล่งปลูกอำเภอดำเนินสะดวก KW - ข้าวโพดหวาน KW - ศัตรูพืช KW - SCI-TECH N2 - การนำแมลงหางหนีบ Proreus simulans Stallen [Dermaptera : Chelisochidae] ซึ่งเป็นแมลง ศัตรูธรรมชาติ ประเภทตัวห้ำที่สำคัญ ของแมลงศัตรูข้าวโพด ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพด และข้าวฟ่างแห่งชาติ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (มีต่อ); เข้าไปปล่อย ในสภาพการปลูกข้าวโพด แบบร่องสวน ร่วมกับการใชั สารเคมี ตามชนิด แมลงศัตรูพืช เมื่อถึงระดับ เศรษฐกิจ เพื่อลดประชากร หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด Ostrinia furnacalis (Guenee) โดยเปรียบเทียบ กับวิธีการ (มีต่อ); ของเกษตรกร วิธีการปล่อยหางหนีบ โดยไม่พ่น สารฆ่าแมลง และวิธีการไม่พ่น สารฆ่าแมลง ทำการทดลอง ระหว่างเดือน ตุลาคม 2538 - เมษายน 2540 ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จากการทดลอง ปี 2539 (มีต่อ); ในสภาพการทำลาย ของแมลงศัตรู ระดับปานกลาง พบว่า การป้องกันกำจัด แบบผสมผสาน ด้วยการปล่อย แมลงหางหนีบ 2ครั้ง ๆละ 1,000 ตัว (1ตัวต่อต้น) เมื่อข้าวโพดอายุ 10 และ 20วัน (มีต่อ); ร่วมกับการใช้สารฆ่าแมลง lambda cyhalothrin 1ครั้ง พ่นเมื่อพบ ความหนาแน่น ของเพลี้ยอ่อน 5-10 % ต่อพื้นที่ ใบทั้งต้น (เฉลี่ย 22.15 ตัวต่อต้น ) วิธีการปล่อย แมลงหางหนีบ อย่างเดียว และ วิธีการของ เกษตรกร ที่พ่นสารฆ่าแมลง 6ครั้ง (มีต่อ); ทำรายได้เพิ่มขึ้น 51.56,43.12 และ 42.56% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ แปลงไม่พ่น สารฆ่าแมลง สำหรับจำนวนรูเจาะ ของหนอนเจาะ ลำต้นข้าวโพด ในระยะเก็บเกี่ยว วิธีการของ เกษตรกร พบน้อยที่สุด 0.28 รูต่อต้น (มีต่อ); ในแปลงที่ปล่อย แมลงหางหนีบ อย่างเดียวมี 0.51 รูต่อต้น สำหรับอัตราส่วน ต้นทุนกำไร ในวิธีการ ป้องกันกำจัด แบบผสมผสาน และ วิธีของเกษตรกร คือ 1: 7.10 และ 1:0.83 ตามลำดับ และการป้องกัน กำจัด แบบผสมผสาน (มีต่อ); สามารถลด จำนวนการใช้ สาร ฆ่าแมลงได้ 5ครั้ง หรือลดลง 83.33 % เมื่อเปรียบเทียบกับ วิธีการ ของเกษตร ปี 2540 ในสภาพการทำลาย ของแมลงศัตรู ระดับรุนแรง พบว่า การป้องกัน กำจัดแบบผสมผสาน (มีต่อ); โดยการปล่อย แมลงหางหนีบ จำนวน 500 ตัวต่อแปลง (0.25 ตัวต่อต้น) เมื่อข้าวโพด อายุ 10 วัน และ พ่นสารฆ่าแมลง ป้องกันจำกัด เพลี้ยอ่อน 1ครั้ง (พบเพลี้ยอ่อนเฉลี่ย 113.12 ตัวต่อตัว) ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น (มีต่อ); จากแปลงที่ไม่พ่น สารฆ่าแมลง เคมีสูงถึง 86.72% และมีรูเจาะเพียง 2.19 รูต่อต้น ซึ่งใกล้เคียงกัล วิธีของเกษตรกรที่ ต้องพ่นสารฆ่าแมลง 4 ครั้ง มีรายได้เพิ่มขึ้น 85.87 % พบรูเจาะเพียง 2.88 รูต่อต้น (มีต่อ); สำหรับการปล่อยแมลง หางหนีบ เพียงอย่างเดียว โดยไม่พ่นสารฆ่าแมลง มีรายได้เพิ่มขึ้น 49.62 % ซึ่งพบหนอน และ รูเจาะ จำนวนมาก คือ หนอน 6.23ตัว และรูเจาะ 6.76 รูต่อต้น ส่วนอัตราส่วนต้นทุน ต่อกำไร (มีต่อ); ในวิธีการ ป้องกัน กำจัด แบบผสมผสาน และวิธีการของ เกษตรกรคือ 1:16:8 และ 1:3:08 ตามลำดับ และการป้องกัน กำจัดแมลงแบบ ผสมผสาน สามารถลดจำนวน การใช้สารฆ่าแมลง ได้ 3 ครั้งคือลดลง 75% (มีต่อ); เมื่อเทียบกับ วิธีการของ เกษตรกร ดังนั้น ในสภาพ การทำลาย ระดับปานกลาง การปล่อยแมลง หางหนีบ อย่างเดียว สามารถควบคุมแมลง ศัตรูข้าวโพดหวาน ได้ และเป็นการลด การใช้สารฆ่าแมลงได้ 100% (มีต่อ); เมื่อเทียบกับ วิธีการของเกษตรกร และ การปล่อย แมลงหางหนีบ ร่วมกับการใช้สารฆ่าแมลง เมื่อพบแมลงศัตรูพืช ถึงระดับเศรษฐกิจ ก็จะได้ผลดี ในสภาพที่มีการทำลาย ระดับรุนแรง นอกจากนี้ พบศัตรูธรรมชาติ ในวิธีการอื่นๆ มีจำนวนมากว่า วิธีของเกษตรกร ER -