บทบาทหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง และคณะกรรมการความปลอดภัยในการดูแลความปลอดภัยในการทำงาน / กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญที่สถานประกอบการทุกแห่งต้องให้ความสนใจ และดำเนินการให้เกิดขึ้นกับตัวลูกจ้าง พนักงาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือเจ้าของสถานประกอบการเองในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นความสูญเสียโดยตรงและความสูญเสียโดยทางอ้อม ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลูกจ้าง ผู้บาดเจ็บ พิการทุพพลภาพ ค่าทำศพของผู้เสียชีวิต ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ ที่ได้รับความเสียหาย ค่าซ่อมแซมอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ (มีต่อ) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าสูญเสียเวลาที่ลูกจ้างต้องหยุดงาน ขาดงาน หรือการหาลูกจ้างใหม่แทนคนเก่า การสูญเสียภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของสถานประกอบการ รวมทั้งชื่อเสียงต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ความสูญเสียเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวมต่อไป ดังนั้นในการดูแลความปลอดภัยในสถานประกอบการ จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่ายร่วมกันดำเนินการให้เกิดขึ้นโดยอาศัยหลักการ 3H (มีต่อ) ซึ่งประกอบด้วย มือ (Hand) ศีรษะ (Head) และหัวใจ (Heart) กล่าวคือ ทุกๆ คนจะต้องร่วมมือกันปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยทุกๆ คนจะต้องร่วมกันคิด หาวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยขึ้นในแต่ละขั้นตอน และทุกๆ คน จะต้องมีจิตใจที่ตรงกันที่จะสร้างความปลอดภัย ให้เกิดขึ้นในสถานประกอบการของตน หากทุกๆ คนได้ร่วมมือช่วยเหลือกันแล้ว จะทำให้แนวโน้มการประสบอันตรายของลูกจ้างลดลง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นลดลง ลูกจ้างมีความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงและทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งส่งผลกระทบอันดีต่อประเทศชาติด้วย


SCI-TECH.
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม.