TY - SER AU - ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ. TI - ผลกระทบของสภาวะเตรียมชิ้นงานทดสอบต่อการต้านทานการดึงลอกของโฟมพอลิเอทธิลีนกับเหล็กโดยใช้กาวยางนีโอปรีนเป็นประสาน KW - SCI-TECH KW - โฟมพอลิเอทธิลีน KW - วิจัย N2 - บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการตรวจสอบสมบัติการดึงลอกของโฟมพอลิเอทธีลีนกับวัสดุเหล็กโดยใช้กาวยางนีโอปรีนเป็นตัวประสาน ภายใต้สภาวะการเตรียมชิ้นงานทดสอบต่างๆ เช่น ความหนาของชิ้นโฟมที่ใช้อุณหภูมิและเวลาอบชิ้นงาน ความหนาของชิ้นงานทดสอบที่คือ 3 5 และ 10 มม. อุณหภูมิและเวลาอบชิ้นงานที่ศึกษา คือ ระหว่าง 25 ถึง 90 องศาเซลเซียส และ 15 ถึง135 นาที ตามลำดับ การศึกษาสมบัติการดึงลอกนี้ดำเนินงานโดยการใช้เครื่องทดสอบแรงดึงรวมกับการใช้อุปกรณ์ทดสอบแรงดึง (มีต่อ); ซึ่งทำการออกแบบและจัดสร้างในงานวิจัยนี้โดยเฉพาะโดยผลการทดสอบถูกบันทึก ด้วยการใช้เครื่องบันทึกผลการทดสอบแบบความเร็วสูง และเครื่องคอมพิวเตอร์ ผลการทดลองระบุว่า ความหนาของชิ้นงานโฟมที่ใช้ อุณหภูมิ และเวลาอบชิ้นงานทดสอบ มีผลอย่างมากต่อสมบัติการดึงลอกของคู่วัสดุโฟมและเหล็ก อุณหภูมิ และเวลาอบชิ้นงานที่เหมาะสมคือ 90 องศาเซลเซียส และ 40 นาที ตามลำดับ และความหนาของชิ้นงานพบว่ามีผลอย่างมากต่อความสม่ำเสมอของผลการทดสอบและค่าการทดสอบที่ได้รับ ER -