TY - SER AU - ดิลก ศรีประไพ. TI - ผลกระทบของไนโตรเจนต่อการเพิ่มผลผลิตของกระบวนการรีดอลูมิเนียม KW - SCI-TECH KW - อะลูมิเนียม N2 - ตำหนิที่เกิดขึ้นบนผิวอลูมิเนียม ทำให้ชิ้นงานมีคุณภาพไม่ดีพอที่จะทำการจัดจำหน่าย อายุแม่พิมพ์สั้น ผลผลิตต่ำ เนื่องจากความร้อนที่สะสมขึ้นอย่างรวดเร็วจนเข้าใกล้อุณหภูมิช่วงของแข็ง ทำให้ผิวฉีกขาด และเกิดปัญหาออกซิเดชั่นตามมาโดยการจ่ายไนโตรเจนบนแม่พิมพ์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการรีดอลูมิเนียมหน้าตัด คือ กระบวนการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพ เพราะสามารถกำหนดให้ผลผลิตมีความเที่ยงตรง ผิวสวย อายุการใช้งานยาวนาน (มีต่อ); โดยความสำเร็จในงานแม่พิมพ์จะต้องอาศัยความร่วมมือและทำงานกันเป็นทีม ตั้งแต่การออกแบบ การรีด รวมไปถึงการแก้ไขแม่พิมพ์ซึ่งจำเป็นมากับกระบวนการผลิตประกอบกับการสื่อข้อมูลที่รวดเร็วแม่นยำระหว่างผู้ออกแบบกับผู้แก้ไข โดยพื้นฐานของการออกแบบแม่พิมพ์กับชุดประกอบแม่พิมพ์ ต้องกระทำควบคู่กันไป ขนาดมิติต่างๆ ต้องสอดคล้องกับเครื่องจักรที่ใช้ โดยมีองค์ประกอบแบ่งออกเป็น 2ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ในแหวนแม่พิมพ์ และส่วนที่อยู่นอกแหวนแม่พิมพ์ และส่วนที่อยู่นอกแหวนคือ (มีต่อ); หมอนรองแม่พิมพ์ ทั้งนี้จะประกอบพอดีกับแท่นเลื่อนแม่พิมพ์ ซึ่งทำหน้าที่ประคองและเปลี่ยนแม่พิมพ์ขณะทำงาน โดยหมอนของแม่พิมพ์สามารถใช้ได้กับการรีดหน้าตัดหลายแบบ ดังนั้นในโรงงานจะมีหมอนรองแม่พิมพ์จำนวนไม่มากนัก สำหรับชุดแม่พิมพ์ที่ถูกพิจารณาในการทดสอบคือ แผ่นแม่พิมพ์ และแผ่นดามแม่พิมพ์ โดยปกติชุดแม่พิมพ์จะถูกแยกประเภทออกมาตามลักษณะของผลิตภัณฑ์คือ หน้าตัดทรงตัน หน้าตัดกลวง หน้าตัดกึ่งกลวง ER -