TY - SER AU - ขนิษฐา ทวีถาวรสวัสดิ์. TI - อันตรายจากไดออกซิน KW - SCI-TECH KW - สารไดออกซิน KW - สารพิษ N2 - ไดออกซินเป็นสารประกอบทางเคมีที่รู้จักเป็นอย่างดีในต่างประเทศ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 ว่าเป็นสารเคมีที่มีอันตราย ไดออกซินเกิดจากการจับตัวกันของกลุ่มสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ในการจับตัวกันของสารไดดอกซินส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่ตั้งใจ จะเป็นผลผลิตจากหลายๆ ขบวนการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับคลอรีน (Chlorine) สารไดออกซินเป็นสารที่แม้ความเข้มข้นของสารน้อย แต่สามารถที่จะคงตัวอยู่ได้นาน นอกจากนี้สารไดออกซินยังสะสมในห่วงโซ่อาหารได้อีกด้วย (มีต่อ); เช่น ชาวนาชาวไร่ใช้ยาฆ่าแมลง ทำให้ยาฆ่าแมลงตกค้างสารไดออกซินอยู่ในดิน ซึ่งการเก็บผลผลิตอาจจะติดไปกับเมล็ดพันธุ์และผลผลิต กรณีวัว ควาย มากินหญ้าบริเวณที่มีสารไดออกซินตกค้าง บริเวณดิน ทำให้สารไดออกซินไปสะสมอยู่ในตัวของสัตว์ เมื่อมนุษย์มาดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากวัวหรือควายนั้นสารไดออกซินจะถูกถ่ายทอดสู่มนุษย์ ทางองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สหรัฐอเมริกาหรือ US-EPA ได้จัดให้ไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์และมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ (มีต่อ); นอกจากนี้ ไดออกซินยังเป็นตัวทำลายแบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและรบกวนการทำงานของฮอร์โมนอีกด้วย ระดับของสารไดออกซินที่ไม่เป็นอันตรายโดยสถาบันด้านสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา กำหนดให้ค่าไดออกซินที่ร่างกายสามารถรับได้ไม่เกินวันละ 0.001ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1กิโลกรัม สารไดออกซินโดยทั่วไปตรวจพบในอากาศ ดิน ตะกอน และอาหาร สารไดออกซินเริ่มแรกจะอยู่ในอากาศ และจากนั้นจะตกลงมาสะสมบริเวณต่างๆ เช่น พื้นผิวดิน การก่อสร้างและวัสดุปูถนน ในน้ำ และใบไม้ของพืช (มีต่อ); แต่แหล่งที่ผลิตสารได้คือ เตาเผาขยะมูลฝอยเทศบาล, เตาเผาขยะติดเชื้อ, โรคหลอมทองแดง, ไฟไหม้ป่า, เตาเผาปูนซีเมนต์, โรงไฟฟ้าถ่านหิน, การเผาไม้โดยวิธีชาวบ้าน, การฟอกขาวของโรงงานกระดาษ, โรงงานอุตสาหกรรมทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับคลอรีน, โรงงานผลิตยาฆ่าแมลง, การเผาหญ้า ประเทศไทยเริ่มมีการตื่นตัวกับสารไดออกซิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการนำเอาเตาเผาขยะมาใช้เพิ่มมากขึ้น จากที่แต่เดิมมีใช้ในจังหวัดภูเก็ต เกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะล้านจังหวัดชลบุรี ขณะนี้มีการนำมาใช้ในเทศบาลหลายแห่ง รวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย ทำให้มีการตระหนักถึงพิษภัยที่จะเกิดขึ้นจากสารตัวนี้ ER -