วัสดุป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย ดังเช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เรดาร์ มอเตอร์ไฟฟ้า รวมถึงโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เหล่านี้เมื่อมีการใช้งานจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกรบกวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเหตุผลที่มีการห้ามใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวบนเครื่องบิน ด้วยปัญหาด้านมลพิษทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 1983 เป็นต้นมา (มีต่อ) ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้กำหนดปริมาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสูงสุดที่ยอมให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ปล่อยออกได้ไว้ในมาตรฐานเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่วางขายในประเทศด้วย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) มีงานวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยแห่งชาติด้านวัสดุและเคมีแห่งประเทศญี่ปุ่น ในโครงการการใช้ประโยชน์สารโพลีแซคคาไรด์ จากเปลือกกุ้งซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากทะเล ได้ทำการวิจัยการผลิตวัสดุป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (มีต่อ) โดยใช้สารไคโตซานที่เป็นสารโพลีแซคคาไรด์ จากเปลือกกุ้งในการเป็นสารช่วยในการทำปฏิกิริยา สารไคโตซานที่ใช้มีค่า degree of deacetylation มากกว่า 90% ใช้เป็นสารช่วยทำปฏิกิริยาในการเคลือบผิวแผ่นโพลีเอสเตอร์ด้วยโลหะโดยวิธี Electroless plating จากการศึกษาเบื้องต้นวัสดุป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผลิตได้ เมื่อตรวจวัดคุณสมบัติตามมาตรฐานอเมริกันว่าด้วยการทดสอบและวัสดุ ASTM ES7-83 มีค่าประสิทธิภาพในการเป็นวัสดุป้องกันการรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้าสูงกว่า 40เดซิเบล (มีต่อ) และมีค่าความต้านทานพื้นผิวต่ำกว่า 0.05 โอห์มต่อตาราง ซึ่งค่าดังกล่าวเพียงพอต่อการใช้งานเป็นวัสดุป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ นอกจากนั้นได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ไคโตซาน ที่ วท. ผลิตขึ้น กับไคโตซานของต่างประเทศ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในการเป็นส่วนช่วยทำปฏิกิริยาในการเคลือบผิวแผ่นโพลีเอสเตอร์ด้วยโลหะ พบว่าสามารถผลิตวัสดุป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันด้วย


SCI-TECH.
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า.