นิตยา พัฒนรัชต์.

ตัวเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ / นิตยา พัฒนรัชต์ - เครื่องมือต้นแบบ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งใช้ผลิตอากาศที่ร้อนจากรังสีของแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเทอร์ไบน์ ของสถานีผลิตไฟฟ้าขนาด 50 กิโลวัตต์ ได้อยู่ในขั้นตอนที่ใกล้ความคาดหวังว่าจะใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีราคาถูก ตัวเก็บพลังงาน แสงอาทิตย์ได้ถูกทดสอบเป็นผลสำเร็จ (มีต่อ)

โดยนักวิจัยชาวอิสราเอล ที่สถาบัน Weizmann Institute of Science ในเมืองเยรูซาเร็ม สถานีกำเนิดไฟฟ้า ที่ทันสมัยหลายแห่งใช้แก๊สร้อนในการขับเคลื่อนเทอร์ไบน์ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า แก๊สนี้ต้องมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 1,200 องศาเซลเซียส กับ 1,350 องศาเซลเซียส และต้องมีความดันอยู่ระหว่าง 10 และ30 บาร์ (มีต่อ) ซึ่งตัวเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปไม่สามารถทำได้ เครื่องมือชนิดใหม่นี้จะรวมแสงของดวงอาทิตย์ โดยผ่านทางหน้าต่างที่ทำด้วยหินควอร์ตซ์ เพื่อที่จะให้ความร้อนแก่หมุดเซรามิค ซึ่งมีอากาศไหลเวียนอยู่โดยรอบ หมุดที่เรียงเป็นแถวนี้ ซึ่งนักวิจัยได้ให้ชื่อว่า porceepine จะดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ และส่งผ่านไปยังอากาศ เนื่องจากหมุดเซรามิค มีพื้นผิวหน้าใหญ่ จึงไมสามารถ ส่งผ่านความร้อน ไปยังอากาศ บริเวณรอบๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก


SCI-TECH.
พลังงานแสงอาทิตย์.