พรพิศ ดาษดื่น.

แผนพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก กลยุทธิ์สู่ความก้าวหน้าของผู้ประกอบการไทย / พรพิศ ดาษดื่น

365 วันก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540นั้น 40% ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทยเพื่อการส่งออก คิดเป็นมูลค่าได้ประมาณ 43.6พันล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออก ได้แก่ แผ่นพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ และข้อต่อพลาสติกเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้าน และ (มีต่อ) ยางสังเคราะห์ (Synthetic fibre) อย่างไรก็ตามแม้ว่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย แต่ก็มีการขยายตัวและพัฒนาศักยภาพในการผลิตเรื่อยมา เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้ (มีต่อ) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกยังเป็นอุตสาหกรรมที่เปิดเสรีในการผลิตและยังไม่มีนโยบายควบคุมการตั้งหรือการขยายโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าได้เต็มที่ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้เสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกไว้ในแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย (มีต่อ) อุปสรรคที่เป็นกำแพงสำคัญและส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันอุตสาหกรรมนี้ได้แก่ 1. เทคโนโลยี อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกขาดความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีตั้งแต่การพัฒนาวัตถุดิบ ขาดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันทันสมัยให้เข้ากันและกันในกลุ่มผู้ผลิต 2.ทรัพยากร แรงงานฝีมือระดับช่างเทคนิค ช่างทำ และออกแบบ (มีต่อ) แม่พิมพ์ ช่างผู้ชำนาญการตั้งเครื่อง วิศกร นักออกแบบฯลฯ 3.แม่พิมพ์ ขาดการพัฒนาในส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุน ทำให้เกิดปัญหาในส่วนการออกแบบแม่พิมพ์ การตกแต่ง เคลือบผิวฯลฯ 4.การออกแบบผลิตภัณฑ์ 5.ช่องทางการตลาดเพื่อการส่งออก 6.ความเหลื่อมล้ำทางด้านภาษี 7.ความรู้ในเรื่องการเลือกใช้เม็ดพลาสติก (มีต่อ) 8.การใช้เครื่องจักรเก่าที่ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมนี้ ผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ที่สถาบันวิจัยการพัฒนาแห่งประเทศไทยมีต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ดังนี้ 1.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย ได้เสนอว่าควรมีการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน อันประกอบด้วย (มีต่อ) อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เครื่องมือการผลิตและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมทั้งพัฒนาภาพลักษณ์ของสินค้า Thai Brand Name ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก 2.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เห็นว่าผู้ประกอบการควรพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) เพื่อเป็นการลดปัญหามลภาวะ นอกจากนี้ (มีต่อ) ผู้ประกอบการควรพัฒนาการประกอบการให้ได้มาตรฐาน ISO 14000 อันเป็นมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก 3.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เสนอว่า ควรมีการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยก้าวหน้า ผู้ประกอบการต้องพัฒนาการดำเนินงานโดยมีรัฐให้ (มีต่อ) ความสนับสนุน ซึ่งกลยุทธิ์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ มีดังนี้คือ - เร่งพัฒนาบุคลากร -เพิ่มศักยภาพในด้าน Customer Service, Customer Satisfaction และ Cost Leadership -สร้างเครือข่ายทางด้านการตลาด -เร่งพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ วิสัยทัศน์และกลยุทธิ์เหล่านี้ เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น (มีต่อ) ส่วนผลแห่งความสำเร็จเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน ขอเพียงเราอดทนที่จะฟันฝ่ากับปัญหาและอุปสรรคที่กำลังเกิดขึ้นเราก็สามารถทลายกำแพงที่ขวางกั้นความก้าวหน้าได้ในไม่ช้า


SCI-TECH.
อุตสาหกรรมพลาสติก.
แผนพัฒนาอุตสาหกรรม.