TY - SER AU - กิติพงษ์ หาญเจริญ. AU - จริยา บุญญวัฒน์. TI - การตรวจหาอิมมูนูโกลบูอิน อี ของผู้ป่วยภูมิแพ้และผู้บริจาคโลหิตที่ทำปฏิกิริยาได้กับโปรตีนในน้ำยางธรรมชาติ KW - SCI-TECH KW - อิมมูโนโกลบูอิน อี KW - ภูมิแพ้ N2 - การแพ้โปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติมีรายงานออกมาอย่างมากมายในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก เพื่อให้เกิดการตื่นตัวและระมัดระวังในความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้โปรตีนจากยางธรรมชาติในหมู่คนไทย การทดลองนี้ได้เปรียบเทียบปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีชนิดอี ในซีรัม (มีต่อ); ของผู้ป่วยภูมิแพ้เด็กและผู้ใหญ่ กลุ่มละ 100ราย เปรียบเทียบกับผู้บริจาคโลหิตจำนวน 352ราย โดยใช้วิธี enzyme allergosorbent test (EAST) พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ 200ราย มีซีรัมที่ให้ผลบวก EAST กับโปรตีนจากน้ำยางธรรมชาติรวม 22ราย หรือ ร้อยละ11 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มผู้บริจาคโลหิต ซึ่งมีเพียงร้อยละ4.5 (16ใน352ราย) (มีต่อ); อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อคำนวณอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยภูมิแพ้พบว่าสูงกว่าผู้บริจาคโลหิตถึง 2.6เท่า (p < 0.05) การศึกษา immunoblot ยืนยันว่ามีโปรตีนอย่างน้อย 6ชนิด ที่ทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีชนิดอี ในซีรัมได้ ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ พบแอนติบอดีชนิดอีต่อโปรตีนขนาด 33 KD ได้บ่อยที่สุด (12จาก22ราย หรือ (มีต่อ); ร้อยละ54) รองลงมาคือ 22.5 KD (พบ7ใน22ราย หรือร้อยละ43) ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตพบแอนติบอดีต่อโปรตีนขนาด 25.5 KD บ่อยที่สุด พบแอนติบอดีชนิดอี ต่อโปรตีนขนาด 30 KD เป็นอันดับสอง (7ใน16ราย หรือร้อยละ44 และ5ใน16ราย หรือร้อยละ31ตามลำดับ) จะเห็นว่าแอนติบอดีที่พบเป็นชนิดอี ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะก่อให้เกิด (มีต่อ); อาการแพ้อย่างรุนแรงได้ เมื่อสัมผัสหรือได้รับโปรตีนเข้าไปโดยไม่ตั้งใจในคนไทยกลุ่มนี้ ในต่างประเทศมีรายงานว่าโปรตีนขนาด 14.6 และ 27 KD เป็นตัวก่อให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อย ซึ่งต่างจากการทดลองนี้ (มีต่อ); ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้คงช่วยกระตุ้นเตือนให้เกิดการดูแลควบคุมโปรตีนเหล่านี้ในกระบวนการควบคุมคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรม ER -