000 06931nab a2200277 4500
001 vtls000000369
003 VRT
005 20231003150224.0
008 120521 2000 th mr 0 0tha d
012 _aJournal
035 _a0000-37060
039 9 _a201312191118
_bVLOAD
_c201207042112
_dVLOAD
_y201205211706
_zVLOAD
040 _aPBRU
090 _aINDEX
100 0 _aไพโรจน์ บุญผูก.
_91107
245 1 0 _aฝนหลวง สายธารธาราจากฟากฟ้าสู่ดิน /
_cไพโรจน์ บุญผูก
520 _aจุดประกายข้อสังเกตเกี่ยวกับเมฆฝนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เมื่อครั้งพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างที่เครื่องบินพระที่นั่งบินผ่านเหนือบริเวณเทือกเขาภูพาน แนวเขตติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ กับจังหวัดสกลนคร ทรงพบว่าบริเวณพื้นที่ ที่เครื่องบินผ่านมานั้นเกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วพื้นที่ทั้งๆ ที่ท้องฟ้ามีเมฆมาก จุดนี้เองทำให้เป็นแรงดลบันดาลพระราชหฤทัยและทรงวิเคราะห์ได้ว่า ภาวะแห้งแล้งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น (มีต่อ)
520 _aเพราะจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผืนป่าอันเป็นแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติกลับถูกบุกรุกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้น ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระปรีชาสามารถกอปรด้วยพระอัจฉริยภาพอันสูงยิ่ง จึงพระราชทานพระดำริแก่ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2498 ว่าทรงจะคิดหาวิธีการที่จะทำให้เกิด "ฝนตกนอกเหนือจากธรรมชาติที่จะได้รับจากธรรมชาติ" โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้กับธรรมชาติที่มีอยู่ ให้เกิดมีศักยภาพการเป็นฝนให้ได้ (มีต่อ)
520 _aเพื่อทำการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรของชาติครบสมบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2499 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง แก่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ องคมนตรี มล.เดช สนิทวงศ์ได้ทูลปรึกษากับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักพันธ์ อธิบดีกรมการค้า ขณะนั้นและได้ทรงมอบให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรม พิจารณาหาลู่ทางดำเนินงานพร้อมกับให้ทำการศึกษาวิชาการทำฝนของต่างประเทศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชดำริมาประกอบด้วย (มีต่อ)
520 _aโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มาใช้ในการศึกษาทดลองค้นคว้าสมทบกับทางรัฐบาลด้วยเสมอมา นับเป็นพระราชอุตสาหะ ที่ทรงเอาพระทัยใส่ตลอดมาถึง 12ปี ในการทำฝนหลวง บัดนี้ฝนหลวงของประเทศไทยได้ก้าวหน้าไปไกลจนเป็นที่ยอมรับในบรรดานักวิทยาศาสตร์ฝนเทียมนานาชาติ จนทำให้ประเทศไทยได้รับการเลือกให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมทำฝนเทียมในเขตร้อนภูมิภาคอาเซียน ฝนหลวงได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือบ้านเมืองมากมาย ฝนหลวงจึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ปวงชนชาวไทยยิ่งแล้ว ฝนหลวงจึงเป็นดั่งน้ำทิพย์ชะโลมของชาวไทยโดยแท้
650 4 _aSCI-TECH.
_9345
650 4 _aฝนเทียม.
_9597
650 4 _aโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
_9527
773 0 _tโลกใบใหม่
_gปีที่ 11 ฉบับที่ 127 (เมษายน 2543) หน้า 8 - 9
_x0859-6107
942 _cSERIALS
999 _c369
_d369