ละอง-ละมั่ง สัตว์ป่าสงวนในกรง / สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์

By: สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ละองละมั่ง | การอนุรักษ์สัตว์ป่า In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 121 (ตุลาคม 2542) หน้า 22 - 23Summary: ละองหรือละมั่ง จัดอยู่ในสัตว์จำพวกกวางซึ่งเป็นสัตว์ลูกด้วยนมจำพวกแรกที่มีเขาบนหัว ซึ่งเป็นลักษณะแสดงเพศของกวางตัวผู้ ส่วนตัวเมียไม่มีเขา ลักษณะเขาเป็นคู่แบบ Antlers หรือเรียกว่า เขากวาง มีการผลัดเขา โดยเขาเก่าจะผลัดหลุดไปเมื่อเขาแก่เต็มที่ เขาใหม่จะงอกขึ้นแทนที่เป็นประจำทุกปี เขาจะเจริญใหญ่และมีการแตกกิ่งก้านออกไปตามอายุและขนาดของกวาง คำว่า ละอง มักใช้เรียกตัวผู้ขนาดใหญ่ที่มีขนาดคอยาวสีค่อนข้างดำ ส่วนตัวเมียมักเรียกว่า ละมั่ง (มีต่อ)Summary: แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าละมั่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งชื่อ ละมั่ง น่าจะมีต้อตอมาจากชื่อเรียกเป็นภาษาเขมรว่า ล่าเมียง ลักษณะเด่นของละองหรือละมั่ง ตัวผู้อยู่ที่ลักษณะของเขา ละมั่งพันธุ์ไทย จำแนกเป็นชนิดย่อย eldi siamensis มีลักษณะปลายล้ำเขาแบนใหญ่ แตกเป็นแขนงเขาเล็กๆ หลายแขนงคล้ายมือและบริเวณรอยต่อกิ่งรับหมากับลำเขามีแขนงเขาเล็กๆ ยื่นขึ้นมา 2-3 กิ่ง (มีต่อ)Summary: ส่วนอีกพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์พม่าที่เรียกว่า ทามิน มีลักษณะสีขนตามตัวเข้มกว่าพันธุ์ไทย ปลายลำเขาค่อนข้างมีแขนงเขาน้อยกว่า และส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเขายื่นขึ้นมาบริเวณลำเขา ละมั่งทั้ง 2 ชนิดพันธุ์เคยมีพบในประเทศไทยทั้งคู่ ประเทศไทยจึงถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของละอง ละมั่ง แต่เดิมเคยมีชุกชุมตามป่าโปร่งเกือบทุกภาพ ยกเว้นภาคใต้ ต่อมาละอง ละมั่ง ถูกล่าจนสูญพันธุ์หมดไปเกือบทุกแหล่ง โดยเฉพาะละองละมั่ง เชื้อสายไทยแท้ๆ ทำให้ปัจจุบันยังคงมีละองละมั่ง มีชีวิตรอดให้พวกเราคนไทยได้ดูกันแต่ในตามสวนสัตว์ รวมถึงในสวนสัตว์เปิดเขาประทับช้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นละองละมั่งเชื้อสายพม่า
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ละองหรือละมั่ง จัดอยู่ในสัตว์จำพวกกวางซึ่งเป็นสัตว์ลูกด้วยนมจำพวกแรกที่มีเขาบนหัว ซึ่งเป็นลักษณะแสดงเพศของกวางตัวผู้ ส่วนตัวเมียไม่มีเขา ลักษณะเขาเป็นคู่แบบ Antlers หรือเรียกว่า เขากวาง มีการผลัดเขา โดยเขาเก่าจะผลัดหลุดไปเมื่อเขาแก่เต็มที่ เขาใหม่จะงอกขึ้นแทนที่เป็นประจำทุกปี เขาจะเจริญใหญ่และมีการแตกกิ่งก้านออกไปตามอายุและขนาดของกวาง คำว่า ละอง มักใช้เรียกตัวผู้ขนาดใหญ่ที่มีขนาดคอยาวสีค่อนข้างดำ ส่วนตัวเมียมักเรียกว่า ละมั่ง (มีต่อ)

แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าละมั่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งชื่อ ละมั่ง น่าจะมีต้อตอมาจากชื่อเรียกเป็นภาษาเขมรว่า ล่าเมียง ลักษณะเด่นของละองหรือละมั่ง ตัวผู้อยู่ที่ลักษณะของเขา ละมั่งพันธุ์ไทย จำแนกเป็นชนิดย่อย eldi siamensis มีลักษณะปลายล้ำเขาแบนใหญ่ แตกเป็นแขนงเขาเล็กๆ หลายแขนงคล้ายมือและบริเวณรอยต่อกิ่งรับหมากับลำเขามีแขนงเขาเล็กๆ ยื่นขึ้นมา 2-3 กิ่ง (มีต่อ)

ส่วนอีกพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์พม่าที่เรียกว่า ทามิน มีลักษณะสีขนตามตัวเข้มกว่าพันธุ์ไทย ปลายลำเขาค่อนข้างมีแขนงเขาน้อยกว่า และส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเขายื่นขึ้นมาบริเวณลำเขา ละมั่งทั้ง 2 ชนิดพันธุ์เคยมีพบในประเทศไทยทั้งคู่ ประเทศไทยจึงถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของละอง ละมั่ง แต่เดิมเคยมีชุกชุมตามป่าโปร่งเกือบทุกภาพ ยกเว้นภาคใต้ ต่อมาละอง ละมั่ง ถูกล่าจนสูญพันธุ์หมดไปเกือบทุกแหล่ง โดยเฉพาะละองละมั่ง เชื้อสายไทยแท้ๆ ทำให้ปัจจุบันยังคงมีละองละมั่ง มีชีวิตรอดให้พวกเราคนไทยได้ดูกันแต่ในตามสวนสัตว์ รวมถึงในสวนสัตว์เปิดเขาประทับช้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นละองละมั่งเชื้อสายพม่า