ร่วมอนุรักษ์ช้างไทย....ไม่ซื้อไม่ขายผลิตภัณฑ์งาช้าง / สถิรกานต์

By: สถิรกานต์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ช้าง | การอนุรักษ์สัตว์ป่า In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 120 (กันยายน 2542) หน้า18-20Summary: เพื่อเป็นการอนุรักษ์ช้างเอเชียในประเทศไทย ที่กำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว โครงการ "ร่วมอนุรักษ์ช้างไทย ไม่ซื้อไม่ขายผลิตภัณฑ์งาข้าง" จึงเริ่มขึ้นโดยกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature WWF) ร่วมกับโรงแรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีระยะเวลารณรงค์ตั้งแต่กรกฎาคม 2542 ถึง มิถุนายน 2543 กลุ่มเป้าหมายหลักที่จะทำการรณรงค์คือ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการโรงแรม และการท่องเที่ยว สายการบิน หอการค้าต่างประเทศ และหน่วยงานทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง (มีต่อ)Summary: สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่มผู้กำหนดนโยบายของหน่วยงานต่างๆ สำนักงานกองทุนสัตว์ป่าโลกที่อยู่ในประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนประเทศไทย เช่น อังกฤษ เดนมาร์ก ฮอลแลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น เป็นต้น การรณรงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติงาน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนเผยแพร่ผลการสำรวจการค้างาช้าง และผลการสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยว รวมทั้งข้อมูลสถานภาพช้างไทย เพื่อให้การศึกษาเรื่องช้างแก่เยาวชน นักเรียนนักศึกษา (มีต่อ)Summary: โดยจัดแข่งข้นประกวดร้อยกรองหัวข้อ "ช้างคู่ป่า งาคู่ช้าง" การรณรงค์เพื่อยุติการค้างาช้างเป็นผลสืบเนื่องจากงานสำรวจการค้างาช้างในโรงแรมและศูนย์กลางธุรกิจบางแห่งในกรุงเทพมหานคร มีโรงแรมชั้นนำ 11 แห่ง จาก 17 แห่ง มีร้านค้าภายในที่ขายงาช้างและผลิตภัณฑ์งาช้างอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มูลค่าการซื้อขายเบื้องต้นมากกว่า 60 ล้านบาท รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวอื่นในประเทศ อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา เกาะสมุย หัวหิน ชะอำ และแหล่งชอปปิ้งในกรุงเทพฯ (มีต่อ)Summary: ผลิตภัณฑ์งาช้างทั่วไปจะอยู่ในรูปตุ้มหู สร้อยคอ กำไล พระพุทธรูป เจ้าแม่กวนอิม เทวรูปจีน ไปบ์ยาสูบ ตะเกียบ ฯลฯ ปัจจุบันช้างป่าที่เหลืออยู่จะอาศัยในพื้นที่อนุรักษ์ทั่วประเทศ 50 แห่ง หลายพื้นที่มีขนาดเล็กและเป็นเกาะทางชีวภาพที่ไม่มีทางออกให้กับช้าง ช้างป่าที่เหลืออยู่จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนสืบทอดลักษณะชาติพันธุ์ในอดีตที่เหลือรอดอยู่ได้ และอาจมีความหลากหลายทางพันธุกรรมกระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ช้างเอเชียในประเทศไทย ที่กำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว โครงการ "ร่วมอนุรักษ์ช้างไทย ไม่ซื้อไม่ขายผลิตภัณฑ์งาข้าง" จึงเริ่มขึ้นโดยกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature WWF) ร่วมกับโรงแรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีระยะเวลารณรงค์ตั้งแต่กรกฎาคม 2542 ถึง มิถุนายน 2543 กลุ่มเป้าหมายหลักที่จะทำการรณรงค์คือ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการโรงแรม และการท่องเที่ยว สายการบิน หอการค้าต่างประเทศ และหน่วยงานทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้าง (มีต่อ)

สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่มผู้กำหนดนโยบายของหน่วยงานต่างๆ สำนักงานกองทุนสัตว์ป่าโลกที่อยู่ในประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนประเทศไทย เช่น อังกฤษ เดนมาร์ก ฮอลแลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น เป็นต้น การรณรงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติงาน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนเผยแพร่ผลการสำรวจการค้างาช้าง และผลการสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยว รวมทั้งข้อมูลสถานภาพช้างไทย เพื่อให้การศึกษาเรื่องช้างแก่เยาวชน นักเรียนนักศึกษา (มีต่อ)

โดยจัดแข่งข้นประกวดร้อยกรองหัวข้อ "ช้างคู่ป่า งาคู่ช้าง" การรณรงค์เพื่อยุติการค้างาช้างเป็นผลสืบเนื่องจากงานสำรวจการค้างาช้างในโรงแรมและศูนย์กลางธุรกิจบางแห่งในกรุงเทพมหานคร มีโรงแรมชั้นนำ 11 แห่ง จาก 17 แห่ง มีร้านค้าภายในที่ขายงาช้างและผลิตภัณฑ์งาช้างอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มูลค่าการซื้อขายเบื้องต้นมากกว่า 60 ล้านบาท รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวอื่นในประเทศ อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา เกาะสมุย หัวหิน ชะอำ และแหล่งชอปปิ้งในกรุงเทพฯ (มีต่อ)

ผลิตภัณฑ์งาช้างทั่วไปจะอยู่ในรูปตุ้มหู สร้อยคอ กำไล พระพุทธรูป เจ้าแม่กวนอิม เทวรูปจีน ไปบ์ยาสูบ ตะเกียบ ฯลฯ ปัจจุบันช้างป่าที่เหลืออยู่จะอาศัยในพื้นที่อนุรักษ์ทั่วประเทศ 50 แห่ง หลายพื้นที่มีขนาดเล็กและเป็นเกาะทางชีวภาพที่ไม่มีทางออกให้กับช้าง ช้างป่าที่เหลืออยู่จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนสืบทอดลักษณะชาติพันธุ์ในอดีตที่เหลือรอดอยู่ได้ และอาจมีความหลากหลายทางพันธุกรรมกระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ