การเตรียมยาระบายเพิ่มกากชนิดแคปซูลจากสารเมือกของเมล็ดแมงลัก / ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์, ปราณี รัตนสุวรรณ, ฝอซีเยาะ ขาเดร์

By: ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์Contributor(s): ปราณี รัตนสุวรรณ | ฝอซีเยาะ ขาเดร์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | แมงลัก -- วิจัย | สมุนไพร -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2542) หน้า 441 - 446Summary: แมงลัก (Ocimum canum) เป็นพืชสมุนไพรในเขตร้อนและพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ส่วนของผลหรือเม็ดประกอบด้วยสารเมือก (mucilage) ที่มีความสามารถในการพองตัวได้หลายเท่าเมื่อนำมาแช่ในน้ำ สารเมือกดังกล่าวเป็นสารประกอบเส้นใย (fiber) จึงทำให้เม็ดแมงลักมีคุณสมบัติเป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก (buld laxative) เนื่องจากสารเมือกจากเม็ดแมงลักไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารทำให้กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้โดยอัตโนมัติ (มีต่อ)Summary: และยังทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ สารเมือกที่แยกได้จากเม็ดแมงลักนำมาทำให้แห้งโดยวิธีไลโอฟิลไลซ์ นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นนุ่ม สีขาวไปบดเป็นผงละเอียดและผ่านเร่งเบอร์ 60 การเติมแลคโตส 5% W/V ก่อนการทำสารเมือกให้แห้ง จะทำให้สารเมือกที่ได้ง่ายต่อการบดเป็นผงและบรรจุแคปซูลมากยิ่งขึ้น เมื่อทำการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพบางประการของผลสารเมือกแห้ง พบว่าปัจจัยการพองตัวของสารเมือกที่ไม่ได้ผสมแลคโตสและสารเมือกที่ผสมแลคโตส 5% W/V มีค่าเท่ากับ 198 และ 100 ตามลำดับ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

แมงลัก (Ocimum canum) เป็นพืชสมุนไพรในเขตร้อนและพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ส่วนของผลหรือเม็ดประกอบด้วยสารเมือก (mucilage) ที่มีความสามารถในการพองตัวได้หลายเท่าเมื่อนำมาแช่ในน้ำ สารเมือกดังกล่าวเป็นสารประกอบเส้นใย (fiber) จึงทำให้เม็ดแมงลักมีคุณสมบัติเป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก (buld laxative) เนื่องจากสารเมือกจากเม็ดแมงลักไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารทำให้กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้โดยอัตโนมัติ (มีต่อ)

และยังทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ สารเมือกที่แยกได้จากเม็ดแมงลักนำมาทำให้แห้งโดยวิธีไลโอฟิลไลซ์ นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นนุ่ม สีขาวไปบดเป็นผงละเอียดและผ่านเร่งเบอร์ 60 การเติมแลคโตส 5% W/V ก่อนการทำสารเมือกให้แห้ง จะทำให้สารเมือกที่ได้ง่ายต่อการบดเป็นผงและบรรจุแคปซูลมากยิ่งขึ้น เมื่อทำการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพบางประการของผลสารเมือกแห้ง พบว่าปัจจัยการพองตัวของสารเมือกที่ไม่ได้ผสมแลคโตสและสารเมือกที่ผสมแลคโตส 5% W/V มีค่าเท่ากับ 198 และ 100 ตามลำดับ