รฟม : เทคโนโลยีล่าสุดใต้แผ่นดินกรุงเทพ / สมเกียรติ บุญศิริ

By: สมเกียรติ บุญศิริCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เทคโนโลยี | รถไฟ In: ข่าวช่าง ปีที่ 27 ฉบับที่ 327 (สิงหาคม 2542) หน้า54 - 57Summary: ในขณะที่ฝันของคนกรุงเทพที่จะได้นั่งรถไฟฟ้าสายแรกของเมืองไทยใกล้จะเป็นจริง เมื่อรถไฟฟ้าบีทีเอสประกาศว่าพร้อมที่จะเปิดให้บริการได้ปลายปีนี้อีกด้านหนึ่งโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทยและเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ไม่แพ้กันก็กำลังลงมืออย่างแข็งขัน เพื่อให้ทันกำหนดเปิดบริการปลายปี 2545 การจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพทุกวันนี้ ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจ (มีต่อ)Summary: คิดเป็นมูลค่าวันละ 447ล้านบาท ซึ่งเป็นความสูญเสียจากเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการใช้รถ ฯลฯ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งมวลชนได้ประมาณการไว้ว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกนี้ใน พ.ศ.2545 ถึง 404,880 คนต่อวัน ฉะนั้นหากการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานครแล้วเสร็จก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร ความสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่เรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางด้านต่าง ๆ (มีต่อ)Summary: ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละอออง ระดับเสียงและคุณภาพน้ำมันทาง รฟม. ได้กำหนดอยู่ในเงื่อนไขในสัญญาอย่างชัดเจนว่าผู้รับเหมาจะต้องดำเนินการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมตามกฎระเบียบของประเทศแม้การก่อสร้างจะล่าช้าจนทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเปิดบริการเดินรถออกไป ทั้งยังต้องปรับแผนการก่อสร้างใหม่ก็ตาม แต่ทุกวันนี้ทาง รฟม. ก็พยายามเร่งวันเร่งคืนทำงาน และก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องปรับแผนก่อสร้างและเลื่อนกำหนดเดินรถไฟฟ้าสายแรกของเมืองไทยใหม่ออกไปอีกครั้ง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในขณะที่ฝันของคนกรุงเทพที่จะได้นั่งรถไฟฟ้าสายแรกของเมืองไทยใกล้จะเป็นจริง เมื่อรถไฟฟ้าบีทีเอสประกาศว่าพร้อมที่จะเปิดให้บริการได้ปลายปีนี้อีกด้านหนึ่งโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทยและเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ไม่แพ้กันก็กำลังลงมืออย่างแข็งขัน เพื่อให้ทันกำหนดเปิดบริการปลายปี 2545 การจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพทุกวันนี้ ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจ (มีต่อ)

คิดเป็นมูลค่าวันละ 447ล้านบาท ซึ่งเป็นความสูญเสียจากเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการใช้รถ ฯลฯ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งมวลชนได้ประมาณการไว้ว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกนี้ใน พ.ศ.2545 ถึง 404,880 คนต่อวัน ฉะนั้นหากการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานครแล้วเสร็จก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร ความสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่เรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางด้านต่าง ๆ (มีต่อ)

ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละอออง ระดับเสียงและคุณภาพน้ำมันทาง รฟม. ได้กำหนดอยู่ในเงื่อนไขในสัญญาอย่างชัดเจนว่าผู้รับเหมาจะต้องดำเนินการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมตามกฎระเบียบของประเทศแม้การก่อสร้างจะล่าช้าจนทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเปิดบริการเดินรถออกไป ทั้งยังต้องปรับแผนการก่อสร้างใหม่ก็ตาม แต่ทุกวันนี้ทาง รฟม. ก็พยายามเร่งวันเร่งคืนทำงาน และก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องปรับแผนก่อสร้างและเลื่อนกำหนดเดินรถไฟฟ้าสายแรกของเมืองไทยใหม่ออกไปอีกครั้ง