ระบบบริหารแนวใหม่ในสถานศึกษา / ธเนศ ขำเกิด

By: ธเนศ ขำเกิดCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การศึกษา -- การบริหาร In: ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 28 ฉบับที่ 156 (เมษายน-พฤษภาคม 2544) หน้า 160 - 163Summary: คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดในการบริหารระดับสถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ได้กำหนดกลไกการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษาโดยภาพรวมบนพื้นฐานของหลักการต่อไปนี้ 1.หลักการกระจายอำนาจ โดยมาตรา39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณการบริหารงานบุคคล (มีต่อ)Summary: ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้มุ่งให้เกิดความเป็นเอกภาพด้านนโยบาย คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจากส่วนกลางมีอำนาจหน้าที่เพียงเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วสนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการขั้นพื้นฐานเท่านั้น (มีต่อ)Summary: โดยกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปที่สำนักงานการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษา ให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาการจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดารศึกษาในหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในเขตพื้นที่การศึกษา 2.หลักการมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำโดยถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของสถานศึกษาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงลูกค้าที่มารับบริการ (มีต่อ)Summary: ยังจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ร่วมดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาในสถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษา 3.หลักการแสดงความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เมื่อส่วนกลางกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาอย่างเบ็ดเสร็จแล้ว จึงเป็นความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องดูแลการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด (มีต่อ)Summary: โดยพร้อมที่รับการประเมินตรวจสอบ และปรับปรุงคุณภาพตามมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่ต้องประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือกำหนดมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 40 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาของแต่ละสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับ และส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดในการบริหารระดับสถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ได้กำหนดกลไกการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อการปฏิรูปการศึกษาโดยภาพรวมบนพื้นฐานของหลักการต่อไปนี้ 1.หลักการกระจายอำนาจ โดยมาตรา39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณการบริหารงานบุคคล (มีต่อ)

ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้มุ่งให้เกิดความเป็นเอกภาพด้านนโยบาย คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจากส่วนกลางมีอำนาจหน้าที่เพียงเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วสนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการขั้นพื้นฐานเท่านั้น (มีต่อ)

โดยกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปที่สำนักงานการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษา ให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาการจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดารศึกษาในหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในเขตพื้นที่การศึกษา 2.หลักการมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำโดยถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของสถานศึกษาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงลูกค้าที่มารับบริการ (มีต่อ)

ยังจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ร่วมดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาในสถานศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษา 3.หลักการแสดงความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เมื่อส่วนกลางกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาอย่างเบ็ดเสร็จแล้ว จึงเป็นความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องดูแลการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด (มีต่อ)

โดยพร้อมที่รับการประเมินตรวจสอบ และปรับปรุงคุณภาพตามมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่ต้องประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือกำหนดมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 40 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาของแต่ละสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับ และส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา