ฉนวนกันความร้อนเพื่ออนุรักษ์พลังงาน

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การอนุรักษ์พลังงาน | ฉนวนกันความร้อน In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 (กันยายน 2542) หน้า 27 - 30Summary: สถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน นับวันจะมีความต้องการสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตอย่างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็กทั่วประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าป้อนระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ระบบการผลิต และระบบอื่นๆ ในการผลิตสินค้าและให้บริการแก่ตลาด ฉนวน นับเป็นวัสดุเพื่อประหยัดพลังงานสำคัญประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะฉนวนความร้อนซึ่งปัจจุบันอาคารทุกประเภท (มีต่อ)Summary: ต่างใช้ฉนวนกันความร้อนในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ เนื่องจากฉนวนกันความร้อนมีคุณสมบัติในการสกัดกั้นการส่งผ่านความร้อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งและสามารถใช้งานได้ทั้งการรักษาความร้อนและความเย็น ขึ้นกับประเภทและลักษณะของฉนวน นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันความร้อน การป้องกันเสียง การป้องกันไฟ ฯลฯ และรักษาอุณหภูมิภายในอาคารให้อบอุ่น สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีอากาศแบบร้อนชื้นอุณหภูมิสูง (มีต่อ)Summary: ดังนั้นเพื่อให้สภาพอากาศภายในอาคารมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศํยและเกิดภาวะความสบาย จึงต้องลดความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารหรือที่อยู่อาศัย โดยฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามายังภายในอาคารเป็นสำคัญ ลักษณะการถ่ายเทความร้อนมี 3วิธี คือการนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังษีความร้อน ประเภทของฉนวนกันความร้อน แบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ ฉนวนมวลสารและฉนวนสะท้อนความร้อน (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทของฉนวนตามชนิดของวัสดุพื้นฐานที่ใช้ในการผลิต 4ประเภท คือ 1.วัสดุประเภทใยแร่ 2.วัสดุประเภทเส้นใยธรรมชาติ 3.วัสดุประเภทเซลล์ธรรมชาติ 4.วัสดุประเภทเซลล์แร่ การพิจารณาเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน สิ่งที่ควรพิจารณาคือ วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้งาน ตลอดจนตำแหน่งที่ติดตั้งฉนวน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดเกณฑ์เบื้องต้นของคุณสมบัติฉนวนที่ต้องการ การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนสำหรับอาคาร (มีต่อ)Summary: ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกัน ดังนั้นควรเลือกใช้ชนิดของฉนวนให้เหมาะกับประเภทของงานมากที่สุด เช่น เลือกฉนวนใยแก้วหรือใยแร่ เมื่อต้องการกันความร้อนและกันเสียง พร้อมๆ กับพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบ ทั้งความสามารถในการต้านทานความร้อน ความชื้น แรงอัด วัตถุดิบในการผลิตฉนวนที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งในขณะทำงาน และเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพหรือเกิดการเผาไหม้ฯลฯ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการนำฉนวนความร้อนมาใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

สถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน นับวันจะมีความต้องการสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตอย่างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็กทั่วประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าป้อนระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ระบบการผลิต และระบบอื่นๆ ในการผลิตสินค้าและให้บริการแก่ตลาด ฉนวน นับเป็นวัสดุเพื่อประหยัดพลังงานสำคัญประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะฉนวนความร้อนซึ่งปัจจุบันอาคารทุกประเภท (มีต่อ)

ต่างใช้ฉนวนกันความร้อนในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ เนื่องจากฉนวนกันความร้อนมีคุณสมบัติในการสกัดกั้นการส่งผ่านความร้อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งและสามารถใช้งานได้ทั้งการรักษาความร้อนและความเย็น ขึ้นกับประเภทและลักษณะของฉนวน นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันความร้อน การป้องกันเสียง การป้องกันไฟ ฯลฯ และรักษาอุณหภูมิภายในอาคารให้อบอุ่น สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีอากาศแบบร้อนชื้นอุณหภูมิสูง (มีต่อ)

ดังนั้นเพื่อให้สภาพอากาศภายในอาคารมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศํยและเกิดภาวะความสบาย จึงต้องลดความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารหรือที่อยู่อาศัย โดยฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามายังภายในอาคารเป็นสำคัญ ลักษณะการถ่ายเทความร้อนมี 3วิธี คือการนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังษีความร้อน ประเภทของฉนวนกันความร้อน แบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ ฉนวนมวลสารและฉนวนสะท้อนความร้อน (มีต่อ)

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทของฉนวนตามชนิดของวัสดุพื้นฐานที่ใช้ในการผลิต 4ประเภท คือ 1.วัสดุประเภทใยแร่ 2.วัสดุประเภทเส้นใยธรรมชาติ 3.วัสดุประเภทเซลล์ธรรมชาติ 4.วัสดุประเภทเซลล์แร่ การพิจารณาเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน สิ่งที่ควรพิจารณาคือ วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้งาน ตลอดจนตำแหน่งที่ติดตั้งฉนวน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดเกณฑ์เบื้องต้นของคุณสมบัติฉนวนที่ต้องการ การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนสำหรับอาคาร (มีต่อ)

ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกัน ดังนั้นควรเลือกใช้ชนิดของฉนวนให้เหมาะกับประเภทของงานมากที่สุด เช่น เลือกฉนวนใยแก้วหรือใยแร่ เมื่อต้องการกันความร้อนและกันเสียง พร้อมๆ กับพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบ ทั้งความสามารถในการต้านทานความร้อน ความชื้น แรงอัด วัตถุดิบในการผลิตฉนวนที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งในขณะทำงาน และเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพหรือเกิดการเผาไหม้ฯลฯ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการนำฉนวนความร้อนมาใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง