สภาพอากาศกับการระบาดของแมลงศัตรูอ้อย / ชำนาญ พิทักษ์

By: ชำนาญ พิทักษ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): อ้อย -- ศัตรูพืช | อ้อย | ศัตรูพืช -- สภาพภูมิอากาศ | แมลงศัตรูพืช -- การควบคุม | SCI-TECH In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2541) หน้า 286-287Summary: อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ปลูกกันมากในทุกเขตของประเทศไทย แมลงศัตรูอ้อยมีหลายชนิด เช่น หนอนกออ้อย ปลวกอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง และแมลงหวี่ขาวอ้อย เป็นต้น จากสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงปี 2540-2541 มีผลทำให้ประชากรระบาดของแมลงศัตรูอ้อยเปลี่ยนแปลงไป บางชนิดมีการระบาดเพิ่มขึ้น แต่บางชนิดลดลง ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้ การเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้น หนอนกออ้อยมี 3 ชนิด คือ หนอนกอลายเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู จะทำความเสียหายในระยะที่อ้อยแตกกอ พบมากในจังหวัดนครสวรรค์ สระแก้ว และกาญจนบุรี เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งเหมาะแก่การระบาดของหนอนกออ้อย แมลงหวี่ขาวอ้อย เป็นแมลงปากดูดระบาดในช่วงเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม ถ้าฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน ในปี 2540-2541 ระบาดมากในจังหวัดนครราชสีมา ลพบุรี และกาญจนบุรี ปลวกอ้อย เป็นแมลงศัตรูใต้ดินที่สำคัญ จะพบในสภาพอากาศที่แห้งแล้งเช่น จังหวัดอุดรธานี กำแพงเพชร และกาญจนบุรี การเปลี่ยนแปลงในทางลดลง ด้วงหนวดยาวอ้อย เป็นแมลงใต้ดิน พบระบาดในสภาพดินร่วนปนทราย จะระบาดมากขึ้นในสภาพที่แห้งแล้ง แต่ในช่วง พ.ศ. 2540-2541 สภาพอากาศแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวที่จะออกมาในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปีมีปริมาณลดลง ทั้งนี้เนื่องจากความชื้นในดินไม่เพียงพอ ทำให้ดักแด้ไม่สามารถทะลุดินออกมาได้ พบการตายมากในจังหวัดชลบุรี และอุดรธานี (มีต่อ)Summary: แมลงนูนหลวงอ้อย เป็นแมลงศัตรูใต้ดิน พบระบาดในแหล่งปลูกอ้อยของจังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงต้นปี 2541 ซึ่งเป็นช่วงตัวเต็มวัยของแมลงนูนหลวงอ้อยจะออกมาจากดักแด้ที่อยู่ในดิน แต่จากสภาพอากาศแห้งแล้งทำให้ความร้อนภายในดินสูงเป็นผลให้ตัวเต็มวัยของแมลงนูนหลวงอ้อยออกมาตายที่ปากรู ประชากรของแมลงนูนหลวงอ้อยจึงลดลง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ปลูกกันมากในทุกเขตของประเทศไทย แมลงศัตรูอ้อยมีหลายชนิด เช่น หนอนกออ้อย ปลวกอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง และแมลงหวี่ขาวอ้อย เป็นต้น จากสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงปี 2540-2541 มีผลทำให้ประชากรระบาดของแมลงศัตรูอ้อยเปลี่ยนแปลงไป บางชนิดมีการระบาดเพิ่มขึ้น แต่บางชนิดลดลง ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้ การเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้น หนอนกออ้อยมี 3 ชนิด คือ หนอนกอลายเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู จะทำความเสียหายในระยะที่อ้อยแตกกอ พบมากในจังหวัดนครสวรรค์ สระแก้ว และกาญจนบุรี เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งเหมาะแก่การระบาดของหนอนกออ้อย แมลงหวี่ขาวอ้อย เป็นแมลงปากดูดระบาดในช่วงเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม ถ้าฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน ในปี 2540-2541 ระบาดมากในจังหวัดนครราชสีมา ลพบุรี และกาญจนบุรี ปลวกอ้อย เป็นแมลงศัตรูใต้ดินที่สำคัญ จะพบในสภาพอากาศที่แห้งแล้งเช่น จังหวัดอุดรธานี กำแพงเพชร และกาญจนบุรี การเปลี่ยนแปลงในทางลดลง ด้วงหนวดยาวอ้อย เป็นแมลงใต้ดิน พบระบาดในสภาพดินร่วนปนทราย จะระบาดมากขึ้นในสภาพที่แห้งแล้ง แต่ในช่วง พ.ศ. 2540-2541 สภาพอากาศแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวที่จะออกมาในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปีมีปริมาณลดลง ทั้งนี้เนื่องจากความชื้นในดินไม่เพียงพอ ทำให้ดักแด้ไม่สามารถทะลุดินออกมาได้ พบการตายมากในจังหวัดชลบุรี และอุดรธานี (มีต่อ)

แมลงนูนหลวงอ้อย เป็นแมลงศัตรูใต้ดิน พบระบาดในแหล่งปลูกอ้อยของจังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงต้นปี 2541 ซึ่งเป็นช่วงตัวเต็มวัยของแมลงนูนหลวงอ้อยจะออกมาจากดักแด้ที่อยู่ในดิน แต่จากสภาพอากาศแห้งแล้งทำให้ความร้อนภายในดินสูงเป็นผลให้ตัวเต็มวัยของแมลงนูนหลวงอ้อยออกมาตายที่ปากรู ประชากรของแมลงนูนหลวงอ้อยจึงลดลง